Bloom และคณะ (1956) ได้จัดกลุ่มการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านพุทธพิสัย ด้านทักษะ พิสัย และด้านจิตพิสัย พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะจิตพิสัยรวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสัมพันธ์กับประสาทจิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ ความซาบซึ้งและค่านิยม การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนผลที่ได้รับ จากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน ในการที่จะประสบผลสําเร็จตามจุดหมายของการศึกษา ขอบเขต การเรียนรู้ทั่งสามนี้ต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอนและการพัฒนา หลักสูตรซึ่งจะทําให้ผู้เรียนกลายเป็นจุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้
ดังภาพประกอบที่ 3 บูรณาการของพุทธพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
อนุกรมภิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น
อนุกรมภิธานของการศึกษา จึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทําให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว
อนุกรมภิธาน เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ
อนุกรมภิธานด้านพุทธิพิสัยของบลูมและคณะ
พุทธิพิสัย รวมถึง ความรู้
ความเข้าใจการนําไปประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และ การประเมินค่า
พุทธิพิสัยแต่ละประเภทในอนุกรมภิธานประกอบด้วยองค์ประกอบบางประการของประเภท
ความรู้ที่ต้องมาก่อนอนุกรมภิธานนี้มีประโยชน์สําหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้างแบบทดสอบ
ภาพประกอบที่ 4 การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย
ตารางที่ 1
อนุกรมภิธานทางปัญญาของบลูมระดับพฤติกรรม
ระดับพฤติกรรม
|
นิยาม
|
1. ความรู้
|
เกี่ยวข้องกับความจําและการระลึกได้ของข้อความจริงเฉพาะคําต่างๆ
สัญลักษณ์ วันที่ สถานที่ ฯลฯ กฎ แนวโน้ม ประเภท วิธีการ ฯลฯหลักการ ทฤษฎี
วิธีการจัดความคิด
|
2. ความเข้าใจ
|
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้
การเรียนรู้ แปลความ สรุปความ ตีความย่อความ ขยายรายละเอียด ทํานายผล
และผลที่ติดตามมา
|
3. การนําไปประยุกต์ใช้
|
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ในการเรียนรู้ที่หลากหลายสถานการณ์การใช้หลักการและทฤษฎีการใช้ความเป็นนามธรรม |
4. การวิเคราะห์
|
เกี่ยวข้องกับการแตกส่วนใหญ่ให้เป็นส่วนย่อยระบุหรือแยก
องค์ประกอบค้นพบปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างส่วน ความสัมพันธ์ของหลักการ
|
5. การสังเคราะห์
|
เกี่ยวข้องกับการผสมผสานองค์ประกอบเข้าด้วยกันเป็นสิ่งใหม่ระ
องค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นการใหม่ๆ จัดการผสมผสานส่วนย่อย
ด้วยกันสร้างสิ่งใหม่ขึ้น
|
6. การประเมินค่า
|
เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณค่าของวัตถุและวิธีการ
พิจารณาในรูปของมา ภายในพิจารณาในรูปของมาตรฐานภายนอก
|
ตารางที่ 2 อนุกรมภิธานทางเจตคติของบลูม
ระดับพฤติกรรม
|
นิยาม
|
1. การรับรู้
|
เกี่ยวข้องกับความตั้งใจทางอ้อมที่มีต่อสิ่งกระตุ้น
การรับรู้ข้อความจริง ความ ถูกต้อง เหตุการณ์หรือโอกาส ความตั้งใจในการสังเกต
หรือความตั้งใจที่มีต่อ ภาระงาน เลือกสิ่งกระตุ้น
|
2. การตอบสนอง
|
เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งกระตุ้น
การยินยอมตาม ทิศทาง การอาสาสมัครด้วยตนเอง ความพึงพอใจหรือความร่าเริง
|
3. ค่านิยม
|
การให้คุณค่ากับบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้อง
แสดงออกถึงความเชื่ออย่างแข็งขันในบางสิ่งบางอย่าง แสดงออกถึงความชอบ
มากกว่าในบางสิ่งบางอย่าง แสวงหากิจกรรมเพื่อบางสิ่งบางอย่างข้างหน้า
|
4. การจัดการ
|
เป็นการจัดคุณค่าให้มีระบบ
เห็นคุณค่าที่ยึดถือมีความสัมพันธ์กับคุณค่าอื่นๆ ก่อตั้งคุณค่าที่มีลักษณะเด่น
เป็นค่านิยมของตนเอง
|
5. คุณลักษณะ
|
เป็นการกระทําที่สอดคล้องกับระบบค่านิยมหรือคุณค่าภายใน
การกระทําที่สอดคล้องในทิศทางที่มีความแน่ใจ
การพัฒนาปรัชญาชีวิตที่มีความคงเส้นคงวาทั้งหมด |
ตารางที่ 3
อนุกรมภิธานทางทักษะพิสัย
นิยาม |
พฤติกรรมการเรียนรู้
|
การเคลื่อนไหวทั่วไป (Generic movement)
|
ปฏิบัติการเคลื่อนไหวหรือกระบวนการซึ่งให้ความสะดวกต่อการพัฒนา
แบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์
|
1. การรับรู้
|
การจําท่าการเคลื่อนไหว
รูปร่าง แบบและทักษะโดยอวัยวะรับความรู้สึก
|
2. เลียนแบบ
|
เลียนแบบ
แบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะในเชิงของผลที่ได้จากการรับรู้
|
3. สร้างแบบ
|
จัดและใช้ส่วนของร่างกายในทิศทางที่ผสมกลมกลืน
เพื่อให้ประสบความสําเร็จในแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ |
การเคลื่อนไหวตามปกติ(Ordinary movement)
|
การพบกับข้อกําหนดของภาระงานการเคลื่อนไหวผ่านกระบวนการของ
การจัดการการแสดงออกและการแก้ไขแบบการเคลื่อนไหวและทักษะ
|
1. การปรับตัว
|
ปรับแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะเพื่อให้พบกับภาระงานเฉพาะอย่างที่(adapting) ต้องการ |
2. การแก้ไข
|
ความกระตือรือร้นที่จะเคลื่อนไหวอย่างราบเรียบ
แบบการเคลื่อนไหว หรือ (refining) ทักษะที่แสดงออกมีประสิทธิภาพในเชิงแห่งผลของ
กระบวนการปรับปรุง เช่น
1. ขจัดการเคลื่อนไหวที่แทรกซ้อน
2. รอบรู้ถึงความสัมพันธ์ของอวกาศกับจังหวะ
3. การแสดงออกทางนิสัยภายใต้สภาวการณ์ที่ซับซ้อน
|
การเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์
(Creative movement)
|
กระบวนการในการประดิษฐ์
หรือสร้างสรรค์การเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วยทักษะซึ่งจะสนองความมุ่งหมายของผู้เรียน
|
1. ความหลากหลาย |
ประดิษฐ์หรือสร้างทางเลือกในการปฏิบัติแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ
(Varying)
|
2. การดัดแปลงโดย
|
การเริ่มท่าการเคลื่อนไหว
การริเริ่มผสมผสานท่าการเคลื่อนไหว ไม่ต้องเตรียมตัวm (improvising)
|
3. แต่งท่าการเคลื่อนไหว
|
สร้างสรรค์การออกแบบการเคลื่อนไหว
หรือทักษะที่มีคุณค่า (composing)
|
จิตพิสัย
การเรียนรู้ทางเจตคติพาดพิงถึงคุณลักษณะของอารมณ์ของการเรียนรู้ เกี่ยวข้องการว่า
นักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้
รู้สึกอย่างไรกับการเรียนรู้กับตนเอง และเป็นการ พิจารณาความสนใจ ความซาบซึ้ง
เจตคติค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน
ทักษะพิสัย
เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทักษะทางประสาทและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กัน
ในการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็จะเกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างไร
เมื่อเด็กได้รับ ความคิดว่าต้องการอะไร และมีทักษะที่ต้องมีมาก่อนมีความแข็งแรง
และวุฒิภาวะและอื่นๆ เด็กจะพยายามมี ความหยาบๆ ซึ่งจะค่อยๆ
แก้ไขผ่านข้อมูลกลับย้อนมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ธรณีประตู การหกล้ม พรม ผู้ปกครอง
และสุดท้าย ทักษะการแสดงออกซึ่งมีคุณค่าต่อวัยเด็กเตาะแตะนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น