วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน บทที่ 2

ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด จากหลักสูตรที่ตรงกับสาขาวิชาเอกหรือกลุ่มสาระที่สนใจ แล้วเขียนข้อความที่แสดงว่าผู้เรียนจะเรียนรู้อะไร และสามารถทําอะไรได้ ข้อความที่เป็นความรู้ โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ(declarative knowledge) (เช่น ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง) และข้อความ ที่เป็นการปฏิบัติ โดยการระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural knowledge) ( เช่น ผู้เรียน สามารถที่จะปฏิบัติหรือกระทํา เรื่อง...)

เรื่อง ระบบสุริยะ
สาระการเรียนรู้
ระบบสุริยะหมายถึง ระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีวัตถุจำนวนหนึ่งถูกดึงดูดให้โคจรรอบดวงอาทิตย์  ระบบสุริยะ เป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางประกอบด้วย ดาวเคราะห์บริวารทั้ง 8 ดวง (ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน) ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ ถ้าใช้ระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ในการจำแนกประเภทของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ สามารถจำแนกดาวเคราะห์ในระบบสุริยะได้ 2 ประเภท ได้แก่
          1. ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก (ดาวเคราะห์วงใน) คือ ดาวพุธ และดาวศุกร์
          2. ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก (ดาวเคราะห์วงนอก) คือ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน
     ถ้าใช้ลักษณะของพื้นผิวหรือองค์ประกอบของดาวเคราะห์เป็นเกณฑ์ สามารถแบ่ง  ดาวเคราะห์ได้ 2 ประเภท ได้แก่
          1. ดาวเคราะห์ที่ลักษณะของพื้นผิวเป็นหินแข็ง ได้แก่  ดาวพุธ  ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร
          2. ดาวเคราะห์ที่ลักษณะของพื้นผิวเป็นแก๊สและของเหลว ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
     ดาวเคราะห์แคระ  เป็นดาวเคราะห์ประเภทหนึ่ง  ที่อยู่ในวงโคจรของดาวฤกษ์  และมีมวลเพียงพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงในตัวเอง  ทำให้รูปทรงสมดุลเกือบเป็นทรงกลม  แต่ไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของตนเองได้ ตัวอย่างดาวเคราะห์แคระ เช่น ดาวพลูโต  ดาวซีรีส  ดาวอีริส
     โลกมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง ดวงจันทร์มีการเคลื่อนที่ 3 ลักษณะคือ
          1. หมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่ากับโคจรรอบโลก คือ 27.33 วัน
          2. โคจรรอบโลก
          3. โคจรรอบดวงอาทิตย์
     ดาวเคราะห์น้อย  เป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ มีขนาดไม่กี่สิบเมตรถึงหลายร้อยกิโลเมตร มีวงโคจรอยู่ในวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี
     ดาวหางเป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ประกอบด้วย ฝุ่นละออง  ก้อนน้ำแข็ง และแก๊สแข็งตัวเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ขณะที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ จะไม่มีหาง ไม่มีแสงสว่าง แต่เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์พลังงานจากดวงอาทิตย์ทั้งในรูปความร้อนและลมสุริยะ ทำให้น้ำแข็งกลายเป็นไอ  ดาวหางจะขยายใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น และพลังงานดังกล่าว  จะผลักดันให้หางพุ่งไปทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่วนของหางจะมีทั้งฝุ่น แก๊ส และโมเลกุล ที่เป็นประจุไฟฟ้า
     ดาวตกหมายถึง เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ เมื่อเกิดเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศจะแลดูสว่างพุ่งเป็นทางเข้าสู่ผิวโลก แต่ถ้าวัตถุนั้นเคลื่อนที่เข้ามาในบรรยากาศของโลกและเสียดสีกับอากาศในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดความร้อนและลุกไหม้ แต่ลุกไหม้ไม่หมด ตกลงมาถึงพื้นดิน เรียกว่า อุกกาบาต
     ฝนดาวตกคือ ปรากฏการณ์ดาวตกที่เกิดขึ้นถี่กว่าปกติ และทิศทางของดาวตกพุ่งจาก จุดเดียวกันบนท้องฟ้า ฝนดาวตกเกิดจากธารของเศษฝุ่นต่าง ๆ ที่ดาวหางทิ้งเอาไว้เป็นทางในช่วงที่โคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ก็จะเคลื่อนที่ฝ่ากลุ่มฝุ่นเหล่านี้เข้าไป ทำให้เกิดฝนดาวตกขึ้น

จุดมุ่งหมายการเรียนรู้
1.       ผู้เรียนสามารถสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายลักษณะของระบบสุริยะ 
2.       ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ที่จะศึกษา ตามที่กำหนดให้และ
วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ 
3.       สามารถเลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ
4.       บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ นำเสนอผล สรุปผล
5.       แสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
6.       บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา
7.       นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
กิจกรรมการเรียนรู้
1.       ครูเปิดสื่อ กลุ่มสาระ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ ให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันอภิปรายว่า ระสุริยะ คืออะไร  ระบบสุริยะประกอบด้วยอะไรบ้าง
2.       ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน แล้วทำกิจกรรมในใบงานระบบสุริยะ โดยให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล เรื่อง ระบบสุริยะ จากแหล่งความรู้ต่างๆ แล้ววาดภาพ ระบายสี และบันทึกข้อมูลลงในใบงานและให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
3.       ครูนำภาพระบบสุริยะมาให้นักเรียนดู แล้วสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับความหมายของคำว่า ระบบสุริยะ
4.       ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปว่า ระบบสุริยะ คือ ระบบของดวงดาวที่อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งเป็นกาแล็กซีหนึ่งในจักรวาล ระบบสุริยะประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ 8 ดวง เป็นบริวาร รวมทั้งดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และอุกกาบาต
5.       ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 12 กลุ่ม เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบสุริยะแล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น และจัดแสดงที่ป้ายนิเทศ 
    - กลุ่มที่ 1 ศึกษาเรื่อง ดวงอาทิตย์                    - กลุ่มที่ 7 ศึกษาเรื่อง ดาวเสาร์
    - กลุ่มที่ 2 ศึกษาเรื่อง ดาวพุธ                          - กลุ่มที่ 8 ศึกษาเรื่อง ดาวยูเรนัส
    - กลุ่มที่ 3 ศึกษาเรื่อง ดาวศุกร์                         - กลุ่มที่ 9 ศึกษาเรื่อง ดาวเนปจูน
    - กลุ่มที่ 4 ศึกษาเรื่อง โลก                              - กลุ่มที่ 10 ศึกษาเรื่อง ดาวเคราะห์แคระ
    - กลุ่มที่ 5 ศึกษาเรื่อง ดาวอังคาร                      - กลุ่มที่ 11 ศึกษาเรื่อง ดาวหาง
    - กลุ่มที่ 6 ศึกษาเรื่อง ดาวพฤหัสบดี                  - กลุ่มที่ 12 ศึกษาเรื่อง ดาวเคราะห์น้อย
6.       ครูให้นักเรียนวาดภาพระบบสุริยะ และเขียนชื่อดวงดาวต่างๆ ในระบบสุริยะ จัดทำลงในใบงานดวงดาวในระบบสุริยะ แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
7.       ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม แล้วเขียนสรุปเป็นแผนผังความคิด 
8.       ครูนำภาพชุดมนุษย์อวกาศมาให้นักเรียนดู แล้วร่วมกันอภิปรายว่า ชุดมนุษย์อวกาศว่า มีลักษณะอย่างไร
9.       ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานสำรวจดวงจันทร์ โดยให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับชุดมนุษย์อวกาศที่ใช้ใส่ไปสำรวจดวงจันทร์ ให้วาดภาพ ออกแบบ และเขียนบรรยายลักษณะชุดมนุษย์อวกาศลงในใบงาน
10.   ครูสุ่มเรียกนักเรียนออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
11.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม และนำผลงานติดที่ป้ายนิเทศ

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1.       ความสามารถในการสื่อสาร
     -  การอธิบาย การเขียน การพูดหน้าชั้นเรียน
2.       ความสามารถในการคิด
     2.1 ทักษะทั่วไป
          - การสังเกต การสำรวจ การคิดวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ การจำแนกประเภท การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ การสร้างคำอธิบาย การอภิปราย การสื่อความหมาย
     2.2 ทักษะเฉพาะ
          - การออกแบบและประดิษฐ์ การทำกิจกรรมทดลองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบค้นโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.       ความสามารถในการแก้ปัญหา
     -  การแก้ปัญหาขณะปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง
     -  การแก้ปัญหาขณะปฏิบัติออกแบบและประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์
4.       ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
     -  กระบวนการกลุ่ม
5.       ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

มาตรฐานและตัวชี้วัด
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภาพ การปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนําความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะ

หาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น