ตรวจสอบและทบทวน
สืบค้นมาตรฐานวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 มาตรฐานด้านความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ มาตราฐานที่6 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน นำมากำหนดจุดหมายในการศึกษารายวิชาเพื่อการบรรลุมาตรฐานดังกล่าวนี้
มาตรฐานความรู้
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 เพิ่มมาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 มาตรฐาน (จากเดิมมีเพียง 9 มาตรฐาน) โดยเพิ่ม 2 มาตรฐาน เพิ่มมาตรฐาน “ปรัชญาการศึกษา” , “คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ” และได้จัดให้มาตรฐาน “การจัดการเรียนรู้” และ “การบริหารจัดการในห้องเรียน” จากเดิมที่แยกเป็น 2 มาตรฐาน รวมไว้ด้วยกันเป็น 1 มาตรฐาน และเปลี่ยนแปลงบางมาตรฐานเช่น เดิม มาตรฐานภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู ก็เปลี่ยนเป็น ภาษาและวัฒนธรรมแทน
มาตรฐานความรู้ ทั้ง 11 มาตรฐาน ประกอบด้วยความรู้ดังต่อไปนี้
1. ความเป็นครู
2. ปรัชญาการศึกษา ( เพิ่มเติม )
3. ภาษาและวัฒนธรรม (เดิม “ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู”
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การพัฒนาหลักสูตร
6. การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (รวมจาก 2 มาตรฐานเป็น 1 มาตรฐาน
7. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (เดิม “การวิจัยทางการศึกษา”
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
10. การประกันคุณภาพการศึกษา
11. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ( เพิ่มเติม )
มาตรฐานที่ 6
มาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการในห้องเรียน
สาระความรู้ : 1. ทฤษฏีและหลักการบริหารจัดการ
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา
3. การคิดอย่างเป็นระบบ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร
5. มนุษย์สัมพันธ์ในองค์กร
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน
8. การประกันคุณภาพการศึกษา
9. การทำงานเป็นทีม
10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
สมรรถนะ : 1. มีภาวะผู้นำ
2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4. สามารถในการประสานประโยชน์
5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ
ชื่อกิจกรรม ลูกโป่งประหลาด
จุดประสงค์
1. เข้าใจลักษณะของไฟฟ้าสถิตและเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวนำไฟฟ้า ฉนวนไฟฟ้า
2. เข้าใจการกำเนิดไฟฟ้าสถิต
3. การนำไฟฟ้าสถิตมาใช้ในชีวิตประจำวัน
วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.กระดาษ
3.เศษกระดาษ
4.ยางรัด
5.เกลือ น้ำตาล พริกไทย เส้นผม
วิธีการทดลอง
1. โรยเกลือ น้ำตาล พริกไทยไว้บนกระดาษซึ่งมีเศษกระดาษเล็กๆ อยู่
2. เป่าลูกโป่งแล้วรัดด้วยยางให้แน่น
3. แหย่ลูกโป่งใกล้ๆ เศษกระดาษ เกลือ น้ำตาล พริกไทย และ เส้นผม แล้วสังเกตผล
4. ถูลูกโป่งที่เสื้อผ้านักเรียน แล้ว ลองแหย่ใกล้ๆ วัสดุในข้อ 3 อีกครั้ง แล้วสังเกตผล
ผลการทดลอง
เมื่อแหย่ลูกโป่งที่ถูกับเสื้อผ้าใกล้ๆ เศษกระดาษน้ำตาล เกลือ พริกไทย และเส้นผมสิ่งเหล่านี้จะถูกดูดติดกับลูกโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ถูลูกโป่งกับ เสื้อผ้านั้น จะเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ทำให้สามารถดูดวัสดุเบาๆ ขึ้นมาได้
เศษกระดาษ น้ำตาล ฯลฯนั้นปกติอยู่ในสถานะเป็นกลาง เมื่อถูลูกโป่ง ด้วยเสื้อผ้าประจุลบจะมาเรียงกันที่ผิว เมื่อนำลูกโป่งมาใกล้เศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ประจุลบบนลูกโป่งจึงดูดประจุบวกบนเศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูดติดกับลูกโป่ง การทดลองนี้ต้องทดลองในวันที่อากาศแห้ง วัสดุต่างๆ ต้องแห้งด้วย จึงจะได้ผล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
เทคนิคการสอนแบบKWDL การสอนด้วยเทคนิค KWDL เป็นเทคนิคการเรียนรู้ที่พัฒนามาจาก KWLของโอเกิล(Ogle 1986) ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นฐาน นั่...
-
การวิเคราะห์ภาระงาน การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่ รายละเอียด-หน่วยย่อย การวิเคราะห์งาน...
-
การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ( UDL : Universal Design for Learning) แนวคิด Universal Design เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น