The STUDIES Model
รูปแบบ
The
STUDIES Model เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
จัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนสําหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
ประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค Thailand
4.0 หรือยุคการศึกษา
4.0 มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556
รูปแบบ
The STUDIES Model มี
7 ขั้นตอน
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S
: กําหนดจุดหมายการเรียนรู้
(Setting
learning goals) การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้
ผู้เรียนต้อง ระบุจุดหมายการเรียนรู้(goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ
โดยการระบุ ความรู้ในรูปของ
T : วิเคราะห์ภาระงาน
(Task
Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง
ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้ (knowledge)
ทักษะ
(Skill)
และเจตคติ(Attitude)
U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
(Universal
Design for Instruction UDI) เป็นการ
ออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือ
ชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
I : การบูรณาการความรู้
(Integrated
Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์
ต่าง ๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง
ในการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
E : การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
(Evaluation
to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ ของตนเอง โดยกําหนดค่าคะแนนจากการวิเคราห์
S : การประเมินอิงมาตรฐาน
(Standard
Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้
อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการ
ศึกษา
ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดคุณภาพใน
การประกอบวิชาชีพ
สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็น
บริการที่มีคุณภาพ
ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา
และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ
ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ
ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49
กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
1.
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง
ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ
จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพจึงจะ
สามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มี
ความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
2.
มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ
ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน
หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ความสามารถ
และความชำนาญเพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้
หรือไม่ นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุก ๆ 5 ปี
3.
มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ
โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ
เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
ตามแบบแผนพฤติกรรม
ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป
หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสีย
หายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว
ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดัง
ต่อไปนี้
(1) ยกข้อกล่าวหา
(2) ตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
(5)
เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุรุสภาในคราว
ประชุมครั้งที่ 5/2548 วันที่ 21 มีนาคม 2548
และที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ครั้งที่ 6/2548 วันที่ 18 เมษายน 2548
ได้อนุมัติให้ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของ
วิชาชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้วมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ
ของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะต้องประพฤติปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ
อันถือเป็นเป้าหมายหลักของการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ให้สามารถ
นำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพให้สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงและได้รับการยอมรับ
ยกย่องจากสังคม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
เทคนิคการสอนแบบKWDL การสอนด้วยเทคนิค KWDL เป็นเทคนิคการเรียนรู้ที่พัฒนามาจาก KWLของโอเกิล(Ogle 1986) ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นฐาน นั่...
-
การวิเคราะห์ภาระงาน การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่ รายละเอียด-หน่วยย่อย การวิเคราะห์งาน...
-
การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ( UDL : Universal Design for Learning) แนวคิด Universal Design เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น