บทที่
2 กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting Learning
Goals)
จุดหมายการเรียนรู้ (learning Goals) ความปรารถนาอยากเรียนรู้
ความปรารถนาอาจมาจากบุคคลประสบการณ์ สถานการณ์พิเศษหรืออื่น ๆ David Henry
Feldman (อ้างถึงในอารี สัณหฉวี 2546 : 140 อารี สัณหฉวี ผู้แปล ความเก่ง
7 ชนิด ค้นหาและพัฒนาพหุปัญญาในตน
ดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ก่อตั้งทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple
Intelligences) ให้คำจำกัดความของคำว่า “ปัญญา” ไว้ดังนี้
“ปัญญา
คือความสามารถที่จะค้นหาและแก้ปัญหาและสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในสังคม”
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
1. มนุษย์มีความสามารถทางปัญญาแบ่งออกได้อย่างน้อย 8 ด้าน
2. จากการศึกษาเรื่องสมองปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
3. คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป
บางคนอาจจะสูงทุกด้าน
บางคนอาจจะสูงเพียงด้าน
หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง
4. ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี
มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
5. ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้
เช่นในการดำรงชีวิตประจำวันเราอาจต้องใช้ปัญญาในด้านภาษาในการพูด อ่าน เขียน
ปัญญาด้านคิดคำนวณ ในการคิดเงินทอง ปัญญาด้านมนุษย์
สัมพันธ์ในการพบปะเข้าสังคมทำให้ตนเองมีความสุขด้วยการใช้ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
6. ปัญญาแต่ละด้านจะมีความสามารถในหลาย ๆ ทาง
ยกตัวอย่างเช่นคนที่อ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญญาทางภาษา แต่เขาอาจจะเป็นคนเล่าเรื่องที่เก่งหรือพูดได้น่าฟัง
ความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา
แบ่งออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical – Mathmatical Intelligence)
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic
Intelligence)
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
6. ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
7. ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
บุคคลมีลักษณะการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญาในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป
ต่อไปนี้เป็นการบรรยายลักษณะของบุคคลที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
- มีนิสัยรักการอ่าน ติดหนังสือ ชอบเขียน ชอบพูด สามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ
ได้ดี
- มักจะได้ยินเสียงของคำก้องอยู่ในหูก่อนที่จะได้อ่าน พูด หรือเขียน
- จำชื่อสถานที่ เรื่องราว รายละเอียดต่าง ๆ ได้ดี
- เจ้าบทเจ้ากลอน มีอารมณ์ขัน ตลก ชอบเล่นปริศนา คำทาย
- ชอบพูดเล่นคำ สำนวน คำผวน คำพ้อง
- ชอบเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ มากกว่าคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- จัดกิจกรรมให้ได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อนำมาเขียนเรื่องราว
- จัดกิจกรรมให้ได้พูด ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น ได้เขียนเรื่องราวที่สนใจ
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
- ครูควรรับฟังความคิดเห็น คำถาม และตอบคำถามด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น
- จัดเตรียมหนังสือ สื่อการเรียนการสอนเพื่อการค้นคว้าที่หลากหลาย เช่น
เทปเสียง วิดีทัศน์ จัดเตรียมกระดาษเพื่อการเขียน
อุปกรณ์การเขียนให้พร้อม
- ยุทธศาสตร์ในการสอนคือ ให้อ่าน ให้เขียน ให้พูด และให้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ
ที่นักเรียนสนใจ อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็น
นักพูด นักเล่านิทาน นักการเมือง กวี นักเขียน บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ ครูสอนภาษา
เป็นต้น
2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical – Mathmatical Intelligence)
- ชอบทดลองแก้ปัญหา สนุกที่ได้ทำงานกับตัวเลข หรือเกมคิดเลข การคิดเลขในใจ
เป็นต้น
- ชอบและมีทักษะในการใช้เหตุผล การซักถามปัญหาให้คิดเชิงเหตุผล
- ชอบทำตามสั่ง ทำอะไรที่เป็นระบบระเบียบตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน
- สนใจข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และวิทยาการต่าง ๆ
- ชอบค้นหาเหตุผลมาหักล้างหรือวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้อื่น
- เชื่อถือเฉพาะแต่สิ่งที่อธิบายได้ มีเหตุผลเพียงพอ
- ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- ให้มีโอกาสได้ทดลอง หรือทำอะไรด้วยตนเอง
- ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์ งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ
- ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์ ตกแต่ง
- ฝึกการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ
- ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
- ยุทธศาสตร์ในการสอนคือให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์ วิจารณ์
ฝึกกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบัญชี
นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู-อาจารย์ เป็นต้น
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual – Spatial Intelligence)
- ชอบวาดเขียน มีความสามารถทางศิลป
- ชอบฝันกลางวัน ชอบหลับตาคิดถึงภาพในความคิด จินตนาการ
- ชอบวาดภาพ ขีดเขียนสิ่งต่าง ๆ ลงในกระดาษ สมุดจดงาน
- ชอบอ่านแผนที่ แผนภูมิต่าง ๆ
- ชอบบันทึกเรื่องราวไว้ในภาพถ่ายหรือภาพวาด
- ชอบเล่นเกมต่อภาพ (Jigsaw Puzzles) เกมจับผิดภาพ
หรือเกมที่เกี่ยวกับภาพ
- ชอบเรียนวิชาศิลปศึกษา เรขาคณิต พีชคณิต
- ชอบวาดภาพในลักษณะมุมมองที่แตกต่างออกไปจากธรรมดา
- ชอบดูหนังสือที่มีภาพประกอบมากกว่าหนังสือที่มีแต่ข้อความ
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- ให้ทำงานศิลป งานประดิษฐ์
เพื่อเปิดโอกาสให้คิดได้อย่างอิสระ
- พาไปชมนิทรรศการศิลป พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
- ฝึกให้ใช้กล้องถ่ายภาพ การวาดภาพ สเก็ตซ์ภาพ
- จัดเตรียมอุปกรณ์การวาดภาพให้พร้อม จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานด้านศิลป
- ฝึกให้เล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ เกมตัวเลข เกมที่ต้องแก้ปัญหา
- เรียนได้ดีหากได้ใช้จินตนาการ หรือความคิดที่อิสระ
ชอบเรียนด้วยการได้เห็นภาพ การดู การรับรู้ทางตา
- ฝึกให้ใช้หรือเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การใช้จินตนาการ
- ให้เล่นเกมเกี่ยวกับภาพ เกมตัวต่อเลโก้ เกมจับผิดภาพ ฯลฯ
- ยุทธศาสตร์ในการสอนคือการให้ดู ให้วาด ให้ระบายสี ให้คิดจินตนาการ
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นศิลปิน
สถาปนิก มัณฑนากร นักประดิษฐ์ ฯลฯ
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – Kinesthetic
Intelligence)
- ชอบการเคลื่อนไหว ไม่อยู่นิ่ง ชอบสัมผัสผู้อื่นเมื่อพูดคุยด้วย
- เป็นนักกีฬา กระตือรือร้น ชอบเต้นรำ เล่นละคร หรือบทบาทสมมุติ
- ชอบทำอะไรด้วยตนเองมากกว่าจะให้คนอื่นทำให้ตน
- ขอบทำมือประกอบท่าทางขณะพูดคุย
- ชอบพูดคุยเสียงดัง เอะอะตึงตัง ชอบเล่นหกคะเมนตีลังกากับเพื่อน
- ชอบเล่นเครื่องเล่นที่โลดโผน หวาดเสียว เช่น ชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน
รถไฟเหาะตีลังกา ฯลฯ
- ชอบเรียนวิชาพลศึกษา งานประดิษฐ์ ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- ชอบลงมือกระทำจริงมากกว่าการอ่านคู่มือแนะนำหรือดูวิดีโอแนะนำ
- ชอบคิดหรือใช้ความคิดขณะออกกำลังกาย เดิน วิ่ง
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส จับต้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปฏิบัติจริง
- สนับสนุนให้เล่นกีฬา การแสดง เต้นรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย
- จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือได้ปฏิบัติจริง
- ให้เล่นเกม เดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย
- ให้เล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง กีฬา การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ
- ยุทธศาสตร์ในการสอนคือการให้นักเรียนปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง ได้สัมผัส
เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ และการเรียนผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ
แสดงละคร
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักแสดง
นักกีฬา นาฏกร นักฟ้อนรำ นักประดิษฐ์ นักปั้น ช่างซ่อมรถยนต์ ศัลยแพทย์ เป็นต้น
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
- ชอบร้องรำทำเพลง เล่นดนตรี
- ชอบเสียงต่าง ๆ ชอบธรรมชาติ
- แยกแยะเสียงต่าง ๆ ได้ดี รู้จักท่วงทำนอง เรียนรู้จังหวะดนตรีได้ดี
- ชอบผิวปาก ฮัมเพลงเบา ๆ ขณะทำงาน
- มักจะเคาะโต๊ะ หรือขยับเท้าตามจังหวะเมื่อฟังเพลง
- สามารถจดจำเสียงที่เคยได้ยินแม้เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งได้
- เล่นเครื่องดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชิ้น
- มักจะได้ยินเสียงเพลงจากภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุก้องอยู่ในหูตลอดเวลา
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- ให้เล่นเครื่องดนตรี ร้องเพลง ฟังเพลงสม่ำเสมอ
- หาโอกาสดูการแสดงดนตรี หรือฟังดนตรีเป็นประจำ
- บันทึกเสียงดนตรีที่นักเรียนแสดงไว้ฟังเพื่อปรับปรุงหรือชื่นชมผลงาน
- ให้ร้องรำทำเพลงร่วมกับเพื่อนหรือคุณครูเสมอ ๆ
- ยุทธศาสตร์ในการสอนได้แก่ปฏิบัติการร้องเพลง การเคาะจังหวะ การฟังเพลง
การเล่นดนตรี การวิเคราะห์ดนตรี วิจารณ์ดนตรี เป็นต้น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักดนตรี
นักแต่งเพลง
นักวิจารณ์ดนตรี
เป็นต้น
6. ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
- ชอบมีเพื่อน ชอบพบปะผู้คนร่วมสังสรรค์กับผู้อื่น
- ชอบเป็นผู้นำ หรือมีส่วนร่วมในกลุ่ม
- ชอบแสดงออกให้ผู้อื่นทำตาม ช่วยเหลือผู้อื่น
ทำงานหรือประสานงานกับผู้อื่นได้ดี
- ชอบพูดชักจูงให้ผู้อื่นทำมากกว่าจะลงมือทำด้วยตนเอง
- เข้าใจผู้อื่นได้ดี สามารถอ่านกิริยาท่าทางของผู้อื่นได้
- มักจะมีเพื่อนสนิทหลายคน
- ชอบสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นมากกว่าจะอยู่คนเดียวที่บ้านในวันหยุด
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้ากลุ่ม ทำงานร่วมกัน
- ส่งเสริมให้อภิปราย เรียนรู้ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน
- สามารถเรียนได้ดีหากให้โอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ยุทธศาสตร์ในการสอนได้แก่การให้ทำงานร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การจำลองสถานการณ์ บทบาทสมมุติ การเรียนรู้สู่ชุมชน
เป็นต้น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบริหาร
ผู้จัดการ นักธุรกิจ นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ ครู - อาจารย์ เป็นต้น
7. ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
- ชอบอยู่ตามลำพังคนเดียวเงียบ ๆ คิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
- ติดตามสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ มีแรงจูงใจสูง
- มีอิสระในความคิด รู้ตัวว่าทำอะไร และพัฒนาความรู้สึกนึกคิดอยู่เสมอ
- ชอบใช้เวลาว่างในวันหยุดอยู่คนเดียวมากกว่าที่จะออกไปในที่มีคนมาก ๆ
- เข้าใจตนเอง หมกมุ่นอยู่กับความรู้สึก ความคิดและการแสดงออกของตัวเอง
- ชอบทำอะไรด้วยตนเองมากกว่าที่จะคอยให้คนอื่นช่วยเหลือ
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- เปิดโอกาสให้ทำงานตามลำพัง ทำงานคนเดียว อิสระ แยกตัวจากกลุ่มบ้าง
- สอนให้เห็นคุณค่าของตัวเอง นับถือตัวเอง (self esteem)
- สนับสนุนให้ทำงานเขียน บันทึกประจำวัน หรือทำหนังสือ จุลสาร
- สนับสนุนให้ทำโครงงาน การศึกษารายบุคคล หรือทำรายงานเดี่ยว
- ให้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ตามจังหวะการเรียนเฉพาะตน
- ให้อยู่กับกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อื่นบ้าง
- ยุทธศาสตร์การสอนควรเน้นที่การเปิดโอกาสให้เลือกศึกษาในสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ
การวางแผนชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่น การศึกษารายบุคคล (Individual
Study)
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพอิสระ
เป็นเจ้าของกิจการ เป็นนายจ้างของตัวเอง นักคิด นักเขียน นักบวช นักปรัชญา
นักจิตวิทยา ครู – อาจารย์ เป็นต้น
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
- ชอบสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์
- สนใจสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติรอบตัว
- สนใจความเป็นไปในสังคมรอบตัว ชอบศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ การดำรงชีวิต
จิตวิทยา
- คิดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม
- เข้าใจธรรมชาติของพืชและสัตว์ได้เป็นอย่างดี รู้จักชื่อต้นไม้
ดอกไม้หลายชนิด
- ไวต่อความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงของดิน ฟ้า อากาศ
- สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
- มีความรู้เรื่องดวงดาว จักรวาล สนใจวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- ฝึกปฏิบัติงานด้านเกษตรกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์
จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
Bloom และคณะ (1956)
ได้จัดกลุ่มการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านพุทธพิสัย
ค้านทักษะ พิสัย และด้านพิสัย พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้
ทักษะพิสัยรวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสัมพันธ์กับประสาทจิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ
ความซาบซึ้งและค่านิยม
การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน
ในการที่จะประสบผลสําเร็จตามจุดหมายของการศึกษา ขอบเขต
การเรียนรู้ทั่งสามนี้ต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอนและการพัฒนา
หลักสูตรซึ่งจะทําให้ผู้เรียนกลายเป็นจุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้
ดังภาพประกอบที่ 3
· พุทธิพิสัย
· ทักษะพิสัย
· จิตพิสัย
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด
ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ
ได้แก่
1. ความรู้ความจำ ความ
สามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง
ๆ
จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึก
เสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้ สามารถเปิดฟังหรือ
ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจเป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ
และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น
ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้
ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4. การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิด หรือ
แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้
และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5. การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ
เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ
เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม
อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่
หรือ
อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ
หรือ แนวคิดใหม่
6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ
สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม
ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
จิตพิสัย
(Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ
ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที
ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา
จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัย
จะประกอบด้วย
พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้ ... เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์
หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร
แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง ...เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม
และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม ... การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม
การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ ... การสร้างแนวคิด
จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์
ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
5. บุคลิกภาพ ...
การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว
ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้
จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม
แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ
จนกลายเป็นค่านิยม
และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ
ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น
ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
1. การรับรู้ ... เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ
เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2. กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ... เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ
เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3. การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4. การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง
จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปฏิบัติ
ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
จุดมุ่งหมายการศึกษาของมาร์ซาโน
Marzano &
Kendall, (2007) ได้พัฒนาการจัดกลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นใหม่
แบ่งเป็น 1) ระบบ ปัญญา (Cognitive System) 2) ระบบอภิปัญญา (Meta cognitive System) และ 3)ระบบตนเอง (Self System และได้จําแนกอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็น
6 ขั้น
ขั้นที่ 1 การดึงกลับคืนมา (Retrieval) ได้แก่
การระบุข้อความได้ (Recognizing) การระล (Recalling) และลงมือปฏิบัติได้ (Executing)
ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่
การบรณาการ (Integration) และการทําให้เป็น สัญลักษณ์ (Symbolizing)
ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis) ได้แก่
การจับคู่ได้ (Matching) แยกประเภทได้ (Classifying) วิเคราะห์ ความผิดพลาดได้ (Analyzing Error) ติดตามได้
(Generalizing) และชี้ให้จําเพาะเจาะจงได้ (Specifying)
ขั้นที่ 4 การนําความรู้ไปใช้ (Knowledge Utilizing) ได้แก่ การตัดสินใจ (Decision Making) การแก้ปัญหา (Problem
Solving) การทดลองปฏิบัติ (Experimenting) และการสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจ
ที่ลึกซึ้ง (Investigating)
ขั้นที่ 5 อภิปัญญา (Meta-cognition) ได้แก่
การระบุจุดหมาย (Specifying Goals) การกํากับติดตาม
กระบวนการ (Process Monitoring) การทําให้เกิดความชัดเจนในการกํากับติดตาม
(Monitoring Clarity) และ การกํากับติดตามตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน
(Monitoring Accuracy)
ขั้นที่ 6 การมีระบบความคิดของตนเอง (Self-System thinking) ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพ
(Examining Efficacy) การตรวจสอบการตอบสนองทางอารมณ์
(Examining Emotional Response) และการตรวจสอบแรงจูงใจ (Examining
Motivation)
การกําหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมาย มี 2 ลักษณะ คือ
· จุดมุ่งหมาย(goals)
ที่มีลักษณะกว้าง ๆ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่ไม่สามารถวัด
หรือสังเกตได้ทันที
· จุดมุ่งหมายที่มีลักษณะเฉพาะ
สังเกตเห็นพฤติกรรมหรือการปฏิบัติของผู้เรียนได้ บางครั้งเรียกว่า
จุดประสงค์การเรียนรู้ (performance objective) จําแนกออกเป็น 2
ประเภทใหญ่ คือ จุดประสงค์เพื่อพัฒนา ศักยภาพ (potential
performance) จุดประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ (typical
performance)
การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนสื่อความหมายให้เข้าใจนัยเพียงหนึ่งเดียว
การระบุสมรรถภาพให้ชัดเจน
ควรได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเรียนรู้จบรายวิชาแล้วมีความสามารถที่จะ ทําอะไรได้ โดยที่เอก่อนเรียนรู้รายวิชานั้น
ๆ ยังไม่สามารถทําได้
การเชื่อมโยงอดีตกับอนาคต
ถ้าเป็นไปได้เน้นย้ํามโนทัศน์จากชั้นเรียนที่ผ่านมา พยายามเชื่อมโยง
ให้เห็นความสัมพันธ์กับมโนทัศน์ที่จะเรียนในอนาคต
จุดมุ่งหมายกับการทดสอบ
ถ้าเราเขียนจุดมุ่งหมายได้ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาจะทําให้สร้าง แบบทดสอบได้ง่าย
ยังสามารถกําหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะให้ได้เป็นอย่างดี
การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก ABCD
A แทน Audience
หมายถึง ผู้เรียนที่แสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายและกําหนดเวลา B
แทน Behavior หมายถึง
พฤติกรรมที่คาดหวังจากผู้เรียน โดยเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้
C แทน Conditions
หมายถึง สภาพการณ์หรือเงื่อนไขที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติหรือแสดง
พฤติกรรมที่สามารถวัดได้
D แทน Degree หมายถึง ระดับหรือเกณฑ์การวัดที่กําหนดขึ้นมาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก SMART
1. S -Sensible & Specific จุดมุ่งหมายต้องเฉพาะเจาะจงชัดเจน จุดมุ่งหมายการเรียนการสอนที่ดี
ต้องมีความเป็นไปได้และชี้เฉพาะ
2. M - Measurable จุคมุ่งหมายต้องสามารถวัดผลได้
ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลว่าผลการดําเนินการ เป็นอย่างไร ประสบความสําเร็จหรือไม่
3. A - Attainable & Assignable
จุดมุ่งหมายต้องเป็นไปได้ และผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัตินําไปปฏิบัติ
ได้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามจุดมุ่งหมายที่กําหนดไว้
4. R - Reasonable & Realistic จุดมุ่งหมายต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลกันและเป็นไปได้จริง
5. T - Time Available จุดมุ่งหมายต้องมีกําหนดเวลา เป็นไปได้ตามเวลา เมื่อเวลาเปลี่ยนไปหรือ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ จุดมุ่งหมายก็ควรเปลี่ยนไปด้วย
จุดมุ่งหมายการศึกษาอิงมาตรฐาน
Haris and Car (1996 รุ่งนภา
นุตราวงศ์, ผู้แปล 2545 : 14-16) ให้คําจํากัดความของมาตรฐาน
เนื้อหา(Content standard) และมาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน
(student performance standards) ดังนี้
มาตรฐานเนื้อหา (content standard) ระบุองค์ความรู้ที่สําคัญ
ทักษะและพัฒนาการด้านจิตใจ ดังนี้
1. องค์ความรู้ที่สําคัญ
(essential knowledge) ระบุถึง แนวความคิด ประเด็นปัญหา
ทางเลือก กฎเกณฑ์ และความคิดรวบยอดในวิทยาการต่าง ๆ ที่สําคัญ ตัวอย่างเช่น
“ผู้เรียนสามารถเข้าใจธรรมชาติและการทํางานของเซลล์
ทั้งการทํางานเป็นเอกเทศและการ ทํางานร่วมกันเป็นระบบที่ซับซ้อน”
2. ทักษะ (Skills)
เป็นวิธีการคิด การทํางาน การสื่อสาร และการศึกษาสํารวจ ตัวอย่าง
ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการบรรยาย
และอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
ใช้ระเบียบวิธีการทางสถิติในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตีความ
เปรียบเทียบ และสรุปผล เกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ
ในสังคม
3. พัฒนาการด้านจิตใจ (Habits of
mind) การเรียนรู้และประสบการณ์จากการศึกษาทั้งใน
โรงเรียนและนอกโรงเรียน มีผลต่อพัฒนาการด้านจิตใตของผู้เรียน
รวมถึงกระบวนการในการศึกษาค้นคว้า การแสดงข้อมูล หลักฐานสนับสนุนความคิด
การอภิปรายโต้แย้ง และความพึงพอใจในการทํางานร่วมกับ ผู้อื่น ตัวอย่าง
“ผู้เรียนสามารถประเมินการเรียนรู้ของตนเอง
โดยการสร้างเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินงานที่มี คุณภาพ”
มาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน
Wiggins (1994) จัดกลุ่มมาตรฐานการเรียนรู้ไว้
4 กลุ่ม คือ
1. มาตรฐานผลลัพธ์หรือผลกระทบ (Impact)
เป็นมาตรฐานที่ระบุผลที่ต้องการจากการ ปฏิบัติงานใดงานหนึ่งของผู้เรียน
เช่น กําหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์เพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อ ผู้ฟัง
หรือให้ผู้เรียนเขียนสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ทางภูมิศาสตร์ในการวางแผนอนาคต เป็นต้น
2. มาตรฐานกระบวนการ (Process) เป็นมาตรฐานที่สะท้อนยุทธวิธี เทคนิควิธีการที่เหมาะ ใช้ในการปฏิบัติงาน
เช่น มาตรฐานที่กําหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์อย่างชัดเจน หรือให้ผู้เรียนใน
สื่อสารได้อย่างสละสลวยสัมพันธ์กัน
หรือให้ผู้เรียนใช้กระบวนการที่เหมาะสมในการสร้างหรือบ กฎเกณฑ์
3. มาตรฐานเนื้อหา (content) เป็นมาตรฐานที่ระบุเนื้อหาสาระ ความคิดรวบยอด เช่น
ผู้เรียนรู้สมบัติของสสาร มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการผลิต กา ต้องการของตลาด
เป็นต้น
การเรียนการสอนโดยตรง
สรุป การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3
ขั้นตอน ( http://www2.southeastern.edu/Acader rhancock/theory.htm#DI)
ได้แก่
1. การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
2.
การนําเสนอข้อมูลใหม่
3. การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ
ให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
ขั้นที่ 1
การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน สร้างแรงจูงใจผู้เรียน
ให้มีแรงจงใจเพียงพอที่จะมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ มีส่วนร่วมใน การเรียนรู้
และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายจนกระทง
ขั้นที่ 2 การนําเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
การอธิบาย พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อนคําถาม ถามที่ละขั้นตอน
การสาธิต การเรียนการสอนที่ซับซ้อน
ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนด ด้วยมีเครื่องมือจํากัด
และคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน
ตํารา ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
แบบฝึกหัดสําหรับผู้เรียน
การฝึกเขียนการจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
โสตทัศนูปกรณ์
สร้างความน่าสนใจและแม่นยําในการนําเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
ขั้นที่ 3
การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
สาระเบื้องต้นคือ
การยืนยันความถูกต้องเพื่อความแน่ใจและการให้แนวคิดและข้อเสนอแนะ
ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทํางานเป็นรายบุคคล แม้ว่าการทํางานเป็นกลุ่มจะเป็นที่ยอมรับ
การเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์
มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean
Piaget ซึ่งเสนอว่า
การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น
สำหรับด้านสังคมวิทยาEmile Durkheim และคณะ
เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่ ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (cognitive
psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget
ประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม
โดยใช้กระบวนการทางปัญญา(cognitive apparatus) ของตน
ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี
คือ การเรียนรู้ตามแนว Constructivism คือ โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความพยายามทางความคิด
ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง
ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้
แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
ลักษณะการพัฒนารูปแบบการสอน
1. การสอนตามแนว Constructivism เน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสำคัญของความรู้เดิม
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ได้ด้วยตนเอง
และสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ ผู้เรียนจะเป็นผู้ออกไปสังเกตสิ่งที่ตนอยากรู้
มาร่วมกันอภิปราย สรุปผลการค้นพบ แล้วนำไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารวิชาการ
หรือแหล่งความรู้ที่หาได้ เพื่อตรวจความรู้ที่ได้มา
และเพิ่มเติมเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ต่อไป
3. การเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง
ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง จนค้นพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ
เรียนรู้วิเคราะห์ต่อจนรู้จริงว่า ลึก ๆ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร
มีความสำคัญมากน้อยเพียงไร และศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งลงไป จนถึงรู้แจ้งบทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ผู้สอน
1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต สำรวจเพื่อให้เห็นปัญญา
2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เช่นแนะนำ ถามให้คิด หรือสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นต่อ ๆ ไป ให้ทำงานเป็นกลุ่ม
4. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิดและทักษะการคิดต่าง ๆ การปฏิบัติการแก้ปัญหาและพัฒนาให้เคารพความคิดและเหตุผลของผู้อื่น
บทบาทของผู้เรียน
ในการเรียนตามทฤษฎี Constructionism ผู้เรียนจะมีบทบาทเป็นผู้ปฎิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆกัด้วยตัวของเขาเอง(ทำไปและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน) บทบาทที่คาดหวังจากผู้เรียน คือ
1. มีความยินดีร่วมกิจกรรมทุกครั้งด้วยความสมัครใจ
2. เรียนรู้ได้เอง รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ด้วยตนเอง
3. ตัดสินปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล
4. มีความรู้สึกและความคิดเป็นของตนเอง
5. วิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นได้
6. ให้ความช่วยเหลือกันและกัน รู้จักรับผิดชอบงานที่ตนเองทำอยู่และที่ได้รับมอบหมาย
7. นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้นั้น
การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2. การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่สนใจ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิด การทบทวน และการเรียนรู้ต่อไป
4. จัดสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ เช่น วัย ความถนัดความสามารถ และประสบการณ์
5. สร้างบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร
6. ครูต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
7. การประเมินผลการเรียนรู้ต้องประเมินทั้งผลงานและกระบวนการ
8. ใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมิน เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและ เพื่อน การสังเกต การประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น