การเรียนรู้แบบร่วมมือ
ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือได้รับการยืนยันจากการวิจัยทั้งการศึกษาวิจัยในห้องทดลอง
และในภาคสนาม
การศึกษาสหสัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือได้ผลในห้องเรียนจริงๆ Johnson and Johnson (1994) สรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น
4 กลุ่ม คือ 1) การประเมินผลรวม
ได้ผลว่าการ เรียนรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ 2) การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบ ได้ข้อสรุปว่า
กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่น
ๆ 3) การประเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่
จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4) การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แบบ ร่วมมือที่มีต่อผู้เรียน
การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับชั้น ทุกเนื้อหาวิชา
และทุกงาน(ภาระงาน) ด้วยความมั่นใจ ความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไป
ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่าง ๆ ทาง การศึกษา ผลลัพธ์นี้ Johnson and
Johnson (1989a) สรุปได้เป็น 3 ประเภท คือ
ความพยายามที่จะบรรลุ ผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพทางบวกระหว่างบุคคล และสุขภาพจิต
ดังภาพประกอบที่ 4
ที่มา Johnson Johnson and
Johnson (1994 the new circles of learning cooperation in the classroom and
school มานพ ธรรมสาร ผู้แปล กรมวิชาการ 2546 : 32)
ทักษะแห่งความร่วมมือ
Johnson and Johnson (1991, 1994) กล่าวว่า ทักษะระหว่างบุคคลหลายทักษะส่งผลต่อความสําเร็จ
ในความพยายามร่วมมือกัน ทักษะแห่งความร่วมมือมี 4 ระดับ คือ
1. ระดับสร้างนิสัย (forming)
ทักษะขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ให้ทําหน้าที่ได้ เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่มุ่งการจัดการเรียนรู้และกําหนดมาตรฐานขั้นต่ํา
พฤติกรรมที่ สําคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะระดับสร้างนิสัย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เคลื่อนไหวในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน
เวลาการทํางานกลุ่มเป็น สิ่งมีค่า
จึงควรใช้เวลาในการจัดโต๊ะเก้าอี้และจัดกลุ่มการเรียนให้น้อยที่สุดตามความจําเป็น
นักเรียนอาจ จําเป็นต้องฝึกการจัดกลุ่มหลาย ๆ
ครั้งก่อนที่จะปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
อยู่ประจํากลุ่ม
นักเรียนที่เดินไปเดินมาในช่วงที่กลุ่มทํางาน ไม่ก่อให้เกิดผลดี และยังรบกวน
สมาธิของสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
พูดเบา ๆ แม้ว่ากลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
แต่ไม่จําเป็นต้องใช้เสียงดัง เกินไป
ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้คอยกํากับคนอื่นให้พูดเบา ๆ ไม่ได้
กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม
สมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมกันคิดร่วมกันใช้สื่อการเรียน และมีส่วน ในความพยายามให้กลุ่มบรรลุผล
การให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันทําหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่จะทําให้นักเรียนทุก
คนในกลุ่มมีส่วนร่วม
2. ระดับสร้างบทบาท (function)
ทักษะที่จําเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อทํางานให้สําเร็จ
และรักษาสัมพันธภาพในการทํางานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่ม
ทักษะระดับที่สองนี้เน้นที่การจัดการ
ความพยายามของกลุ่มเพื่อทํางานให้สําเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทํางานที่มีประสิทธิผล
การทําให้ สมาชิกกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทํางาน
การหาวิธีดําเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการสร้าง
บรรยากาศการทํางานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้น
ถือว่าเป็นการผสมผสานอันสําคัญที่จะนําไปสู่กลุ่มการ
เรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผล ตัวอย่างทักษะระดับสร้างบทบาท
แนะแนวทางการทํางานของกลุ่ม โดย (1) แจ้งและความมุ่งหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย
(2) เตือนให้ใช้เวลาตามที่กําหนดไว้ และ (3) เสนอขั้นตอนว่าจะทํางานอย่างไรให้สําเร็จอย่างมีประสิทธิผล ที่สุด
แสดงออกถึงการสนับสนุนและการยอมรับ
ทั้งการใช้คําพูดและการแสดงท่าทาง โดยใช้การ มองสบตา แสดงความสนใจ
ชมเชยแสวงหาความคิด และข้อสรุปของผู้อื่น
ขอความช่วยเหลือหรือความชัดเจนในสิ่งที่พูดหรือทําในกลุ่มเสนอให้คําอธิบายหรือชี้แจง
แปลความหมายข้อเสนอของสมาชิกอื่น
เสริมพลังให้กลุ่มเมื่อเห็นว่าแรงจูงใจลดลง
โดยเสนอแนะความคิดใหม่ ใช้อารมณ์ขัน หรือ แสดงความกระตือรือร้น
บรรยายความรู้สึกของตนเมื่อมีโอกาสเหมาะ
3. ระดับสร้างระบบ (formulating)
เป็นทักษะที่จําเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกใน
เนื้อหาวิชาที่เรียน เพื่อส่งเสริมให้ใช้กลยุทธ์การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูง
และเพิ่มความเชี่ยวชาญและความ คงทนของความรู้ที่ได้จากงานที่ปฏิบัติ
ทักษะระดับที่สามนี้ทําให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จําเป็นในการ
สร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียน
กระตุ้นการใช้กลยุทธ์การให้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและ
เพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียน
เนื่องจากความมุ่งหมายกลุ่มการเรียนรู้คือ ต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิก
ทักษะเหล่านี้มุ่งเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิธีการในการจัด
ระเบียบความรู้ที่เรียน
ทักษะระดับสร้างระบบสามารถดําเนินไปได้ในขณะที่สมาชิกกลุ่มรับบทบาทต่าง ๆ กัน
บทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
ผู้สรุปย่อ
เป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่าน
หรือภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทําได้โดยไม่อาศัยร่างบันทึก หรือสื่อการเรียนต้นฉบับ
ควรสรุป ข้อเท็จจริงและความคิดสําคัญทั้งหมดไว้ในการสรุปย่อด้วย สมาชิกทุกคน
ในกลุ่มต้องสรุปย่อจากความจําบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มการเรียนรู้
ผู้แก้ไข
เป็นผู้ระวังเรื่องความถูกต้อง โดยคอยแก้ไขข้อสรุปของสมาชิก
แล้วเพิ่มเติมข้อสนเทศที่ สําคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
ประสานความร่วมมือ
เป็นผู้ประสานความร่วมมือโดยขอให้สมาชิกอื่น ๆ เชื่อมโยงความรู้ที่
กําลังเรียนอยู่กับความรู้ที่เรียนไปแล้ว และกับสิ่งอื่น ๆ ที่สมาชิกเหล่านั้นรู้
ผู้ช่วยจํา
เป็นผู้หาวิธีการที่ดีในการจดจําข้อเท็จจริงและความคิดสําคัญ โดยการใช้ภาพวาด สร้าง
มโนภาพ หรือวิธีจําอื่น ๆ แล้วนํามาร่วมหารือในกลุ่ม
ผู้ตรวจสอบความเข้าใจ
เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนถึงเหตุผลที่ใช้ในการ
ทํางานให้สําเร็จ ซึ่งจะทําให้การให้เหตุผลของนักเรียนชัดแจ้ง
และเปิดกว้างต่อการปรับแก้และอภิปราย
ผู้ขอความช่วยเหลือ เป็น
ผู้เลือกคนที่จะคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม รวมทั้งเป็นผู้ตั้ง
คําถามที่ชัดเจนและตรงประเด็น และทําอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะช่วยเหลือสําเร็จ
ผู้อธิบาย
เป็นผู้บรรยายวิธีการทํางานให้สําเร็จ (โดยไม่ให้คําตอบ)
ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เจาะจง เกี่ยวกับงานนักเรียนอื่น
และลงท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายหรือสาธิตวิธีการทํางานให้สําเร็จ
ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบาย
เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนื้อหาความรู้ให้ นักเรียนคนอื่นโดยละเอียด
การวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุด มีผลต่อคุณภาพของกลยุทธ์การให้
เหตุผลและความคงทนของความรู้
4. ระดับสร้างเสริม (fermenting)
ทักษะที่จําเป็นต่อการส่งเสริมการรับรู้เหตุผลในสิ่งที่เรียน
ความขัดแย้งด้านการรู้คิด(อภิปัญญา) การค้นหาความรู้เพิ่มเติม
และการสื่อสารกันด้วยหลักเหตุผลเมื่อมีการ สรุปผล ทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่สี่
ที่ทําให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมในการโต้แย่งทางวิชาการได้
ประเด็นสําคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ
สมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผล และการให้เหตุผล ของกันและกันอย่างคล่องแคล่ว
การโต้แยงทางวิชาการทําให้สมาชิกกลุ่ม “เจาะลึก” ในเนื้อหาความรู้ที่เรียน ระคมหลักเหตุผลในข้อสรุป
คิดแปลกแยกเกี่ยวกับปัญหา
หาข้อสนเทศเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตนละอภิปรายโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับทางเลือกของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
ทักษะที่เกี่ยวข้องกับ การโต้แย้งทางวิชาการ ได้แก่
วิจารณ์ความคิด โดยไม่วิจารณ์คนแบ่งแยกความแตกต่าง เมื่อมีความเห็นขัดแย้งขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้
บูรณาการความคิดหลายความคิดให้เป็นจุดยืนเดียว
ขอคําชี้แจงในเรื่องการสรุปผลผลหรือคําตอบของสมาชิก
ขยายความข้อสรุปหรือคําตอบของสมาชิกอื่น โดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแสดงนัยที่นอกเหนือ
ออกไป
ตรวจสอบโดยการตั้งคําถามซึ่งนําไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงไป
หรือการวิเคราะห์ (“มันจะได้ผล
หรือไม่ในสถานการณ์นี้” “มีอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ทําให้คุณเชื่อ)
ให้คําตอบลึกลงไปอีกโดยเจาะลึกลงไปนอกเหนือคําตอบหรือข้อสรุปแรก
ให้คําตอบที่มีความ เป็นไปได้หลายๆคําตอบให้เลือก
ทดสอบความจริงโดยการตรวจสอบงานของกลุ่มในเรื่องวิธีการทํางาน
เวลาที่มี และปัญหาที่ 1 กลุ่มเผชิญ
ทักษะความร่วมมือช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีแรงจูงใจในการให้คําตอบที่ลึกมีคุณภาพสูง
นอกเหนือจากคําตอบที่ตอบออกมาอย่างฉับพลัน โดยการกระตุ้นการคิดและความอยากรู้อยากเห็นทางพุทธิ
ปัญญาของสมาชิกกลุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น