วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน บทที่ 4


ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน

การออกแบบการเรียนรู้ที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากล
UDL คือ การทบทวนแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรโดยใช้ความหลากหลายของเด็กนำหน้า และสนับสนุนการออกแบบหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นและมีความสะดวกมากขึ้นต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็ก (Rose & Meyer, 2002) แนวคิด UDL ได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากลทางด้านสถาปัตยกรรม เป็นความพยายามในการออกแบบโครงสร้าง โดยคำนึงถึงผู้มีศักยภาพที่จะใช้ทั้งหมด มาผสมผสานกันเข้า ได้เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น ทางลาด และลิฟต์ ขึ้นมาเป็นจุดตั้งต้น (Connell และคณะ, 1997) ลักษณะเฉพาะต่างๆ ที่ช่วยให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้นี้ อาจนำมาผสมผสานกันได้อย่างสวยงามและราคาไม่แพงในการทำงานระดับออกแบบ ยิ่งไปกว่านั้น นอกเหนือจากการหาทางเข้าถึงผู้ที่มีความพิการ/บกพร่องแต่ละรายแล้ว ลักษณะเฉพาะเหล่านี้ ยังเอื้อประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน จึงทำให้มีการนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย (Rose & Meyer, 2002) UDL เอง ก็ใช้กลวิธีเดียวกันนี้กับการจัดทำหลักสูตร โดยการพิจารณาความต้องการของเด็กโดยรวมในชั้นตอนของการออกแบบ และสร้างลักษณะเฉพาะต่างๆ ที่เอื้อต่อการเข้าถึงได้ครบถ้วน นอกจากนี้ UDL ยังขยายแนวความคิดของการออกแบบเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากล โดยนำลักษณะเฉพาะต่างๆ มาผสมผสานให้เกิดเป็นความสามารถสูงสุด ทั้งในการเข้าถึงข้อมูล และการเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ (Rose & Meyer, 2002) เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญใน UDL ความยืดหยุ่นได้ของ UDL ทำให้สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้ได้จริงและมีความสง่างามได้

รูปแบบ the STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model มี 7 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S : กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals) การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้อง ระบุจุดหมายการเรียนรู้(goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ(procedural knowledge) จุดหมาย การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจํากัดด้วยจํานวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความ คาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนําทางผู้เรียนไปสู่ จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill
Attitudes
U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการ ออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือ ชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา(educational products (computers, websites, Software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้(dormitories, classrooms, student union buildings, libraries, and distance learning courses) ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
D : การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทํางาน และชีวิตประจําวัน
I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ ต่าง ๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดย เชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
E : การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ ของตนเอง โดยกําหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการ ตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes : SOLO Taxonomy) มากําหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบคุณภาพ การเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก

จุดประสงค์การเรียนรู้
     1. อธิบายวัฏจักรชีวิตของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมได้
     2. เขียนวัฏจักรชีวิตของสัตว์บางชนิดได้
     3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น
     4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
     5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
     6. สื่อสารและนำความรู้เรื่องวัฏจักรชีวิตของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

กิจกรรมการเรียนรู้
  เรื่อง วัฏจักรชีวิตของสัตว์บางชนิด 

ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยใช้คำถาม เช่น
                - ช้างเป็นสัตว์บกหรือสัตว์น้ำ
                - ช้างเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังหรือไม่มีกระดูกสันหลัง
                - ช้างเกิดลูกเป็นตัวหรือเป็นไข่
นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม
นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลและสร้างฐานความรู้ในหัวข้อต่อไปนี้
                 - วัฏจักรชีวิตของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
                 - วัฏจักรชีวิตของสัตว์ปีก
                 - วัฏจักรชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
          ทั้งนี้ในแต่ละฐานความรู้ต้องมีแผนภาพวัฏจักรชีวิตของสัตว์ตัวอย่างแสดงไว้ด้วย
แต่ละกลุ่มต้องศึกษาความรู้ในฐานของตนเองให้เข้าใจ แล้วจึงไปศึกษาความรู้ในฐานของกลุ่มอื่นจนครบทุกฐาน
 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
                   - วัฏจักรชีวิตของกบเป็นแบบใด
                   - วัฏจักรชีวิตของสัตว์ปีกมีกี่ระยะ อะไรบ้าง
                   - คนเรามีวัฏจักรชีวิตเหมือนหรือแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เพราะอะไร
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
นักเรียนร่วมกันอภิปราย การนำความรู้เกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของสัตว์ไปใช้ประโยชน์
นักเรียนค้นคว้าคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนฟัง คัดคำศัพท์พร้อมคำแปลลงในสมุดส่งครู
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
Jon Wiles (2009: 56 - 57) สรุปว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) หมายถึง สภาวะ แวดล้อมที่ อยู่รอบๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ในด้านรูปธรรมเป็นสภาพแวดล้อมทาง กายภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่นขนาด การวางผัง แสง ที่นั่ง ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก ห้องเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หรือทางภาษา โดยสามารถใช้อาคารในการจัด พื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะ จัดสื่อที่หลากหลาย สําหรับนักเรียนแต่ละคน และเป็นสื่อ บูรณาการสะดวกเหมาะสมกับหลักสูตร เป็นศูนย์การเรียนรู้สื่อประสม เป็นต้น สภาพแวดล้อม ที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทางจิตใจหรือบรรยากาศทางจิตใจ ส่งผลต่อ ผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ โดยสรุปสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การจัดการเรียนรู้และการ จัดการชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ คือมีความรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
Bob Pearlman (http://go.solution-tree.com 21stcenturyskills อ้างถึงใน นฤมล ปภัสสรานนท์ 2558: 67-68) ได้นําเสนอบทความเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนทักษะใน ศตวรรษที่ 21 โดยตั้งคําถามว่า"ความรู้และทักษะอะไรบ้างที่จําเป็นสําหรับ นักเรียนในศตวรรษที่ 21" และ ควรตอบคําถามตามประเด็นคําถามต่อไปนี้
อะไร คือ หลักสูตร การเรียนการสอน และกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สิ่งที่ใช้ ประเมินผลการเรียนรู้ทั้งระดับโรงเรียน และระดับชาติ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของ นักเรียน การมีส่วนร่วมของนักเรียน และการบริหารตนเอง
เทคโนโลยีจะสามารถสนับสนุนการเรียนการสอน หลักสูตรและการประเมินผลของศตวรรษ ที่ 21 เพื่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไร
อะไร คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ (ห้องเรียนโรงเรียนและโลกแห่งความจริง) ที่ ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จากการศึกษาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Environments) จาก เว็บไซด์ http://www.21stcenturyskills.org/route2v ได้นําเสนอสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้
ว่า คือ ระบบสนับสนุนที่จัดสรร เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการ เพื่อ การเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคนและสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือและชุมชนที่ สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนและนักการศึกษา เพื่อที่จะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 นี้ ตาม ความต้องการของทุกคน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นระบบ ที่สอดคล้องกันได้อย่างลง ตัว คือ
สร้างข้อปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ ให้การสนับสนุนจากผู้คนโดยรอบและสภาพแวดล้อมทาง กายภาพที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ผลเชิงทักษะในศตวรรษที่ 21
สนับสนุน ชุมชน การเรียนรู้ระดับ มืออาชีพที่ช่วยให้ นักการศึกษา ทํางานร่วมกันแบ่งปันวิธี ปฏิบัติที่ดีที่สุดและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ใน บริบทของ ศตวรรษที่ 21 (เช่นผ่านโครงการหรืองานอื่น ๆ ที่ นําไปใช้
ช่วยให้เข้าถึง เครื่องมือการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเทคโนโลยีและทรัพยากร
จัดสรร ให้ การออกแบบ เชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศตวรรษที่ 21สําหรับการ เรียนรู้แบบ กลุ่มทีมงานและของแต่ละบุคคล
รองรับ ชุมชนที่มี การขยายตัวและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศในการเรียนรู้ทั้ง การเรียน แบบเผชิญหน้า face to face และ ออนไลน์

กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Classroom Instruction That Works) Marzano (2012) ได้เสนอกลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ส่วน คือ
1. การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
2. การช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจ (Helping students Develop Understanding)
3. การช่วยให้ผู้เรียนให้ขยายและนําความรู้ไปใช้ (Helping students Extend and Apply Knowledge)
กลวิธีที่ เป็นพื้นฐานสําคัญ เมื่อผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง
กลวิธีที่ เป็นการช่วยผู้เรียนในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดการกับความรู้ จัดลําดับและ เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ตรวจสอบความรู้และสร้างมโนทัศน์ (Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวน การบูรณาการและเรียนรู้กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ 1) การสร้างขั้นตอนที่
จําเป็นในแต่ละกระบวนการหรือทักษะ 2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติ อย่างหลากหลาย 3)ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา
กลวิธีที่ คือ ช่วยผู้เรียนขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้มากกว่า คําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายขอบข่ายความรู้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ ในชีวิตจริงเป็นบริบทแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) มีความเป็นเหตุเป็นผล จึงเป็นการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย

กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม

กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Processes)
          จุดมุ่งหมายของการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในตัวบุคคล โดยให้ความสำคัญที่รายบุคคล จะเห็นได้จากการวัดผล ประเมินผล จะดำเนินการในรายบุคคล ให้แต่ละคนได้แสดงความสามารถหรือสมรรถนะเพื่อการประเมิน และมีการรายงานผลความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงเป็นรายบุคคล เช่น รายชื่อบุคคลที่สอบได้ สอบตก หรือรายชื่อผู้ได้คะแนน หรือ เกรดในแต่ละคน เป็นต้น
           ในขณะที่สังคมประกอบกันขึ้นด้วยบุคคลหลาย ๆ คนมารวมกัน การนำค่าเฉลี่ยของคนหลาย ๆ คนมาแสดงแล้วสรุปว่าเป็นค่าแทนความสามารถหรือการเรียนรู้ของกลุ่มหนึ่ง หรือของสังคมหนึ่ง เป็นที่นิยมและใช้สำหรับการวิจัยทางการศึกษามาโดยตลอด และการยอมรับผลของการประเมินจากการคำนวณค่าเฉลี่ยแล้วสรุปว่าเป็นการเรียนรู้ของสังคมนั้น ยังเป็นมิติการมองการเรียนรู้ของสังคมในมุมแคบ และอาจไม่ตรงกับเจตนาหรือความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
            ดังนั้นถ้าคะแนนค่าเฉลี่ยของผลการสอบระดับชาติ เช่น O-NET, A-NET, หรือ V-NET ต่ำ หรือสูง ไม่สามารถอธิบายว่าการเรียนรู้ทางสังคมของประเทศไทยหรือสังคมไทยนั้นดีหรือไม่ดี ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา การให้โอกาสทางการศึกษา การแข่งขัน การเรียนเสริม การกวดวิชา ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางสังคมในบริบทที่แตกต่างไป
            ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือ Social Learning Theory เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดมาจากการเรียนรู้จากผู้อื่น โดยได้รับประสบการณ์จากการฟัง ดู อ่านงานผู้อื่นมากกว่าทำด้วยตนเอง (Vicariousness) ซึ่งอาจเป็นการรับเอา (Adopting) พฤติกรรมของผู้อื่นเป็นแบบแผนในการกำหนดพฤติกรรมตนเอง อาจเกิดจากการสังเกต พบเห็นอยู่เป็นประจำ และอาจมีแรงจูงใจ ความประทับใจที่แตกต่างกันในกลุ่มผู้รับเอาแบบแผนพฤติกรรมมาใช้เป็นแบบอย่างหรือเป็นต้นแบบการสร้างแบบแผนของตนเองขึ้น
            การเรียนรู้ทางสังคมจึงเป็นกระบวนการเผยแพร่ความรู้ ความคิด พฤติกรรม หรือแม้แต่วัตถุ สิ่งของ เทคนิควิธีการ เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในสังคมที่มีระบบสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม การถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ ความคิด และมีการใช้สื่อรวมทั้งกระบวนการสื่อสารในสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการสร้างให้เกิดเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ การสร้างเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลจึงเกิดขึ้นได้ง่าย มีการเรียนรู้ทางสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีกระบวนการของการเรียนรู้แยกย่อย ๆ ได้เป็น 4 กระบวนการดังนี้

1. กระบวนการสร้างความสนใจ ในขั้นนี้การสร้างความโดดเด่น (Salience) ให้เกิดความแพร่หลาย (Prevalence) กระทบกับภาวะของการรับรู้และกระบวนการทางปัญญาที่สามารถเข้าใจ (Cognitive Capabilities) กระตุ้นความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น จนทำให้เกิดความพึงพอใจ อิทธิพลของสื่อสมัยใหม่สามารถสร้างความสนใจและเข้าถึงผู้คนส่วนมากได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
2. กระบวนการสร้างความคงทน เป็นส่วนสำคัญที่ต้องออกแบบสถานการณ์ของการเรียนให้สามารถคงทนได้ดี ทั้งนี้อาจใช้กระบวนการทำให้เกิดภาวะ “สะดุดในกระบวนการทางปัญญา” หรือ Cognitive Disfluency รวมทั้งการย้ำเตือน การใช้สัญลักษณ์ และวาทกรรมที่โดนใจ รวมทั้งอาจสร้างหรือทำสิ่งที่ แปลกใหม่ ล่อแหลม ท้าทายต่อความถูกต้องเชิงวัฒนธรรมและกฎหมายเพื่อสร้างความคงทนในการจดจำสิ่งที่ได้รับรู้มาจากกระบวนการสร้างความสนใจ
3. กระบวนการแสดงออกเป็นผลิตภาพ เป็นกระบวนการเชื่อมโยงและถ่ายโอนของกระบวนการทางปัญญามาสู่พฤติกรรม สังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก ทั้งการพูดและการกระทำ ซึ่งไม่เพียงแต่การเลียนแบบของการได้รับรู้ หรือเรียนรู้มาเท่านั้น ยังเป็นกระบวนการที่สร้างแบบแผนพฤติกรรมใหม่ที่มีแบบแผนเฉพาะแห่งตนขึ้นมาด้วย
4. กระบวนการสร้างแรงจูงใจเป็นแบบอย่าง ในกระบวนการนี้เป็นการยืนยันและรับเอาแบบแผนแห่งตนเข้ามาเป็นบุคลิกภาพของตน ในขั้นนี้อาจมีการให้รางวัลตนเอง หรือสนับสนุนการกระทำของตนเอง รวมทั้งเผยแพร่แบบอย่างของตนสู่ผู้อื่นให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมขึ้นต่อ ๆ ไป

         เมื่อมีความเข้าใจตรงกันในกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมแล้ว สามารถนำหลักการและกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคม ด้วยการออกกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการควบคุม ส่งเสริม ป้องกัน กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และกำหนดมาตรการหรือแนวทางให้สังคมได้เรียนรู้ในทิศทางที่เหมาะสมสร้างความสงบสุขในสังคมได้
        นอกจากนั้นความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมยังสามารถอธิบาย วิเคราะห์สาเหตุต่าง ๆ ของปรากฏการณ์ในสังคมตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือ Social Learning Theory เพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้องเหมาะสม และไม่เป็นการสร้าง หรือซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดลงหรือหมดไปได้

ที่มา https://www.thairath.co.th/content/270870

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง


การจัดการเรียนการสอนตามแนว Constructivism

       สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2538) ได้กล่าวถึง การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ว่าเน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเป็นสำคัญ ครูผู้สอนจะเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองมากกว่าที่จะเป็นผู้บอกเล่าให้นักเรียนจดจำ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงวุฒิภาวะประสบการณ์เดิมและสิ่งแวดล้อมที่นักเรียนได้รับมาแล้วก่อนเข้าสู่ห้องเรียน การพัฒนาแนวคิดหลักของเด็ก  จะเกิดขึ้นในสมองของนักเรียน ซึ่งอาจสอดคล้องหรือขัดแย้งกับความเข้าใจและข้อเท็จจริงได้

เงื่อนไขของ Constructivism

ในการพัฒนานั้น เด็กจะสร้างแนวคิดอยู่ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องมีการสอนในห้องเรียน ดังนั้น การเรียนรู้ตามแนวคิดของ Constructivism จะเกิดขึ้นได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
  1. การเรียนรู้เป็น Active Process ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคล การสอนโดยวิธีบอกเล่าเป็นแบบ Passive Process ไม่ช่วยให้เกิดการพัฒนาแนวคิดหลักมากนัก
  2. ความรู้ต่างๆ จะถูกสร้างขึ้นด้วยตัวของนักเรียนเอง โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาใหม่กับข้อมูลเก่าหรือความรู้ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ มาเป็นเกณฑ์ช่วยในการตัดสินใจ
  3. ความรู้และความเชื่อของแต่ละคนจะต่างกันขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี และสิ่งที่นักเรียนได้พบเห็น ซึ่งจะถูกใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ และใช้เป็นข้อมูลในการสร้างแนวคิดใหม่
  4. ความเข้าใจจะแตกต่างจากความเชื่อโดยสิ้นเชิง และความเชื่อจะมีผลโดยตรงต่อการสร้างแนวคิดหรือการเรียนรู้
  5. การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาแนวคิดหลักของนักเรียนในลักษณะต่างๆ

กลุ่มของ Constructivism

เนื่องจาก Constructivism ไม่มีแนวปฏิบัติหรือวิธีการสอนอย่างเหมาะสม ดังนั้น  นักการศึกษาโดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ พบว่า มีวิธีสอน 2 วิธีที่ใช้ประกอบกันแล้วช่วยให้แนวคิดของ Constructivism ประสบผลสำเร็จในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี   ตามแนวทางของ Constructivism ได้เน้นการเรียนรู้ของนักเรียนเกิดขึ้นด้วยตัวของนักเรียนเอง
 วิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสม คือ
  • การเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Learning)
  • ประกอบการเรียนรู้จากกลุ่ม (Cooperative Learning)
ซึ่งการเรียนรู้ทั้ง 2  ลักษณะ มีดังนี้

การเรียนการสอนแบบค้นพบ

การเรียนการสอนแบบค้นพบ เป็นการเรียนการสอนลักษณะเดียวกับแบบการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method) ซึ่งมีขั้นตอนในการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ
  1. การนำเข้าสู่บทเรียน กิจกรรม ประกอบด้วย การซักถามปัญหา ทบทวนความรู้เดิม กำหนดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในการเรียนการสอนและเป้าหมายที่ต้องการ
  2. การสำรวจ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทดลอง การสำรวจ การสืบค้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติเองโดยมีครูเป็นเพียงผู้แนะนำหรือผู้เริ่มต้น
  3. การอธิบาย กิจกรรมประกอบด้วย การนำข้อมูล ผลการทดลองมาร่วมกันอภิปราย
  4. การลงข้อสรุป เป็นการสรุปเนื้อหาหรือข้อมูลการทดลองเพื่อให้เห็นถึงความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้นักเรียนมีโอกาสปรับแนวความคิดหลักของตนเองในกรณีที่ไม่สอดคล้องกับความคิดของตนเอง
  5. การประเมินผล เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนตรวจสอบแนวคิดหลักที่ตนเองได้เรียนรู้มาแล้ว โดยการประเมินผลด้วยตนเอง ทั้งนี้ จะรวมถึงการประเมินผลของครูต่อการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย

การเรียนการสอนแบบเรียนรู้จากกลุ่ม

การเรียนการสอนแบบเรียนรู้จากกลุ่ม เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างทักษะของการอยู่ร่วมกันในสังกัด และทักษะในด้านเนื้อหาวิชาการต่าง ๆ เป็นการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ โดยจัดให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกันเรียนและทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มๆ ละ 2-4 คน โดยมีจุดหมายเดียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม ผู้เรียนเก่งจะช่วยผู้เรียนอ่อนกว่า  และต้องยอมรับซึ่งกันและกันเสมอ ความสำเร็จของกลุ่มขึ้นอยู่กับสมาชิกภายในกลุ่ม  โดยบทบาทของครูผู้สอน จะเป็นดังนี้
  1. จัดเตรียมแหล่งความรู้สำหรับนักเรียนค้นคว้า หาวัสดุอุปกรณ์ที่นักเรียนต้องใช้ร่วมกัน
  2. จัดเตรียมแบบฝึก (Work Sheet) หรือมอบหมายงานที่ต้องทำร่วมกันในกลุ่ม
  3. จัดกลุ่มนักเรียนโดยเฉลี่ยความรู้ ความสามารถให้แต่ละกลุ่มใกล้เคียงกัน เช่น สมาชิกในกลุ่มมี 4 คน ควรเป็นนักเรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 1 คน อีก 2 คนอาจจะเรียนอ่อนหรือค่อนข้างอ่อน และประการสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ด้านความประพฤติของนักเรียนในกลุ่ม ไม่ควรจัดให้นักเรียนที่มีความประพฤติเบี่ยงเบน หรือไม่ค่อยสนใจในการเรียนอยู่รวมกันทั้งหมด ต้องเฉลี่ยเข้ากลุ่มต่างๆ กลุ่มนี้อาจจัดเป็นกลุ่มที่ถาวร หรือเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมก็ได้ เช่น 1 เดือนสลับปรับเปลี่ยนครั้งหนึ่ง
  4. ครูควรปูพื้นฐานทักษะเบื้องต้นให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น  จัดกลุ่มอย่างรวดเร็ว ทำงานในกลุ่มของตนเอง ไม่รบกวนกลุ่มอื่น ผลัดเปลี่ยนการทำบทบาทหน้าที่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โต้ตอบ อภิปราย ยอมรับฟังความคิดเห็น มีน้ำใจแบ่งวัสดุอุปกรณ์ใช้ร่วมกัน
  5. วางแผนการวัดผลและประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น
    • จากการสังเกต และการสอบถามจากผู้สอน
    • จากแบบสำรวจตนเอง
    • จากแบบสำรวจของกลุ่ม

วิธีการสอน

สำหรับวิธีการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากกลุ่มนั้น มีหลากหลาย เช่น  Jigsaw, Teams-Games-Tournament (TGT) , Student Teams-Achievement Division (STAD) , Team Assisted Individualization (TAI) , Learning Together (LT) , Group Investigation (GI) ,Think-Pair-Square , Think-Pair-Share Pair Check , Three-Step-Interview , Number Head Together ฯลฯ โดยมีวิธีที่นิยมใช้อยู่ 6 วิธี คือ
  1. Jigsaw
  2. Teams-Games-Tournament (TGT)
  3. Student Teams-Achievement Division (STAD)
  4. Team Assisted Individualization (TAI)
  5. Learning Together (LT)
  6. Group Investigation (GI)
แบบที่ 1 รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)
    แนวคิดทฤษฎีที่ใช้
    แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและ
เชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean Piaget ซึ่งเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vyecotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น สำหรับด้านสังคมวิทยา Emile Durkheim และคณะ เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (cognitive psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget
  • ประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม โดยใช้กระบวนการทางปัญญา (cognitive apparatus) ของตน
  • ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี คือ การเรียนรู้ตามแนว Constructivism คือ โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความพยายามทางความคิด ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้ แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น

ลักษณะการพัฒนารูปแบบ

  1. การสอนตามแนว Constructivism เน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสำคัญของความรู้เดิม
  2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ ผู้เรียนจะเป็นผู้ออกไปสังเกตสิ่งที่ตนอยากรู้ มาร่วมกันอภิปราย สรุปผลการค้นพบ แล้วนำไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารวิชาการ หรือแหล่งความรู้ที่หาได้ เพื่อตรวจความรู้ที่ได้มา และเพิ่มเติมเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ต่อไป
  3.  การเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง จนค้นพบความรู้และรู้จักสิ่งที่ค้นพบ เรียนรู้วิเคราะห์ต่อจนรู้จริงว่า ลึก ๆ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีความสำคัญมากน้อยเพียงไร และศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งลงไป จนถึงรู้แจ้ง
การจัดการเรียนรู้ผู้สอนจะต้อง
  1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต สำรวจเพื่อให้เห็นปัญญา
  2.  มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เช่นแนะนำ ถามให้คิด หรือสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
  3. ช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นต่อ ๆ ไป ให้ทำงานเป็นกลุ่ม
  4. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิดและทักษะการคิดต่าง ๆ การปฏิบัติการแก้ปัญหาและพัฒนาให้เคารพความคิดและเหตุผลของผู้อื่น

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนว Constructivismไดรเวอร์และเบลล์ (Driver and Bell, 1986 อ้างถึงใน Matthews, 1994) ได้กำหนดขั้นตอนไว้ ดังนี้
  1.   ขั้นนำ (orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียนบทเรียน
  2.   ขั้นทบทวนความรู้เดิม (elicitation of the prior knowledge) เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน วิธีการให้ผู้เรียนแสดงออก อาจทำได้โดยการอภิปรายกลุ่ม การให้ผู้เรียนออกแบบโปสเตอร์ หรือการให้ผู้เรียนเขียนเพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจที่เขามีอยู่ ผู้เรียนอาจเสนอความรู้เดิมด้วยเทคนิคผังกราฟฟิก (graphic organizers) ขั้นนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา (cognitive conflict) หรือเกิดภาวะไม่สมดุล (unequillibrium)
  3.   ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด (turning restructuring of ideas) นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญหรือเป็นหัวใจสำคัญตามแนว Constructivism ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
    1. ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน (clarification and exchange of ideas) ผู้เรียนจะเข้าใจได้ดีขึ้น เมื่อได้พิจารณาความแตกต่างและควมขัดแย้งระหว่างความคิดของตนเองกับของคนอื่น ผู้สอนจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวก เช่น กำหนดประเด็กกระตุ้นให้คิด
    2.   การสร้างความคิดใหม่ (Construction of new ideas) จากการอภิปรายและการสาธิต ผู้เรียนจะเห็นแนวทางแบบวิธีการที่หลากหลายในการตีความปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์แล้วกำหนดความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่
    3.   ประเมินความคิดใหม่ (evaluation of the new ideas) โดยการทดลองหรือการคิดอย่างลึกซึ้ง ผู้เรียนควรหาแนวทางที่ดีที่สุดในการทดสอบความคิดหรือความรู้ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนอาจจะรู้สึกไม่พึงพอใจความคิดความเข้าใจที่เคยมีอยู่ เนื่องจากหลักฐานการทดลองสนับสนุนแนวคิดใหม่มากกว่า
  4. ขั้นนำความคิดไปใช้ (application of ideas) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย เป็นการแสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย การเรียนรู้ที่ไม่มีการนำความรู้ไปใช้เรียกว่า เรียนหนังสือไม่ใช่เรียนรู้
  5.   ขั้นทบทวน (review) เป็นขั้นตอนสุดท้าย ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่า ความคิด ความเข้าใจของเขาได้เปลี่ยนไป โดยการเปรียบเทียบความคิดเมื่อเริ่มต้นบทเรียนกับความคิดของเขาเมื่อสิ้นสุดบทเรียน ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างด้วยตนเองนั้นจะทำให้เกิดโครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure) ปรากฏในช่วงความจำระยะยาว (long-term memory) เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนสามารถจำได้ถาวรและสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะโครงสร้างทางปัญญาคือกรอบของความหมาย หรือแบบแผนที่บุคคลสร้างขึ้น ใช้เป็นเครื่องมือในการตีความหมาย ให้เหตุผลแก้ปัญหา ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างโครงสร้างทางปัญญาใหม่ นอกจากนี้ยังทบทวนเกี่ยวกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทบทวนว่าจะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างไร และยังมีเรื่องใดที่ยังสงสัยอยู่อีกบ้าง
ไดเวอร์ และเบลล์ เน้นว่า ผู้เรียนควรจะเรียนเนื้อหาสาระไปพร้อมกับการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้การสอนแบบให้ผู้เรียนสร้างความรู้เน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และความสำคัญของความรู้เดิมและยังได้สรุปแนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ได้ดังนี้
  1.   ผลการเรียนรู้ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนด้วย
  2.   การเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างมโนทัศน์นั้น เช่น การสร้างคำจำกัดความ สร้างความคิดสำคัญ ผู้เรียนได้จากการสร้างด้วยตนเองมากกว่าการรับฟังจากคนอื่น
  3.   การสร้างมโนทัศน์เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนเป็นผู้ทำ เป็นผู้ตื่นตัว
  4.   มโนทัศน์ที่สร้างขึ้น เมื่อประเมินแล้วอาจเป็นที่ยอมรับ หรือไม่เป็นที่ยอมรับก็ได้
  5.   ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียนรู้การเป็นผู้สร้างความรู้เอง คือ การเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียนนั่นเอง

การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism)

สร้างสรรค์ความรู้ด้วยปัญญานิยม (Constructivism) อยู่บนฐานของการอ้างอิงหลักฐานในสิ่งที่พวกเราสร้างขึ้น แสดงให้ปรากฏแก่สายตาของเราด้วยตัวของเราเอง และอยู่ บนฐานประสบการณ์ ของแต่ละบุคคล และโครงสร้างองค์ความรู้ภายในแต่ละบุคคลอีกด้วย การเรียนรู้ในลักษณะนี้อยู่บนฐานของการแปลความหมายและการให้ความหมายประสบการณ์ต่างๆ ของผู้เรียนเขา / เธอในแต่ละบุคคลว่าเป็นอย่างไร การที่ผู้เรียนลงมือกระทำการอย่างว่องไว ในกระบวนการสร้างสรรค์ ความหมายจากประสบการณ์ต่าง ๆ ของเขาหรือเธอ องค์ความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียน และโดยเหตุผลที่ทุกคนต่างมีชุดของประสบการณ์ต่างๆ ของการเรียนรู้จึงมีลักษณะเฉพาะตน และมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน การเรียนรู้จะเกิดปรากฏขึ้นในห่วงแห่งความคิดเมื่อได้มีการกระทำการภายในบุคคลนั้น ๆ ทฤษฎีในแนวนี้ถูกใช้เพื่อเน้น การเตรียมการผู้เรียนในการตัดสินใจ แบบจำลองทางจิตใจของเขา ในการจัดรวบรวมประสบการณ์ใหม่ต่างๆ และการแก้ปัญหา สถานการณ์ปัญหาต่างๆ ที่กำกวมน่าสงสัย

กฎเกณฑ์ของผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิด Constructivism

ผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนควรออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาที่มีความหมายจริง ๆ และเป็นปัญหาในชีวิตจริงของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนต่างก็มีความต้องการและมีประสบการณ์ ซึ่งสามารถประยุกต์นำไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง และต้องการสร้างองค์ความรู้เหล่านั้น ผู้จัดการเรียนการสอนควรจัดเตรียมหากลุ่มหรือชุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิกริยาต่อกันและได้คิด แก้ปัญหาต่างๆ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรช่วยเหลือโดยการแนะแนวทางและสั่งสอนหรือฝึก (coaching)
วิธีการจัดการเรียนการสอนเมื่อใช้แนวคิดของ Consturctivism จะเป็นการเรียน การสอน ดังนี้ :
1 ) กรณีศึกษา (case studies) หรือการแก้ปัญหาเพื่อการเรียนรู้
2 ) การนำเสนอผลงาน/ชิ้นงานให้ปรากฎแก่สายตาหลายด้าน หลายมิติหรือการจัดทำสื่อแนะแนวทาง คำแนะนำ
3 ) การกำกับดูแลหรือการฝึกงาน
4 ) การเรียนรู้ร่วมกัน (collaborative learning)
5 ) การเรียนรู้โดยการสืบค้น (Discovery learning)
6) การเรียนรู้โดยการกำหนดสถานการณ์

เมื่อใดควรใช้ Constructivism

ภายใต้เงื่อนไขที่ Constructivism มีส่วนสนับ สนุนทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การเรียนการสอนจะ เกิดขึ้นในกระบวนการที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ ต่อกัน ระหว่างผู้เรียนต่อผู้เรียน ผู้เรียนจะ รวบรวมจัดองค์ความรู้ ปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว จากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับความเข้าใจในสถานการณ์ใหม่ ๆ ต่าง ๆ ที่ได้มา แหล่งการเรียนรู้หรือทรัพยากรที่หลากหลายมีลักษณะที่แตกต่างกัน จำนวนมากเท่าที่สามารถจัดหามาได้ เพื่อช่วยเหลือต่อการสืบค้น มีเวลาเพียงพอ พอจะสามารถทำผลงาน/ชิ้นงาน/การปฏิบัติการได้ สำหรับผู้เรียนในการสืบค้นและประมวลผลองค์ความรู้

ทักษะต่างๆ อะไรที่ควรได้รับการเรียนรู้ด้วย Constructivisim

การประดิษฐ์คิดค้นผลงาน ด้วยความรวดเร็วจากการใช้กระบวนการของ คอมพิวเตอร์
การสร้าง สะพานข้ามแม่น้ำที่กว้างและมีน้ำไหลผ่าน
การวิจัย หาวิธีบำบัด รักษาตัวเองจากโรค

จุดด้อยของ Constructivism

ผู้เรียนมีความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีนัยสำคัญต่อผลการเรียนรู้ของการเรียนการสอน มิใช่ว่าจะมาทำนาย ว่าพวกเขามีความรู้ ความสามารถมากน้อยเพียงใด เพราะว่า ผู้เรียน ทั้งหลายต่างกำลังสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง Constructivism มิใช่เป็นการทำงาน แต่เมื่อผลของการทำงาน,การสร้างผลงานต่างๆ ต่างก็ต้องการผลงานเหมือนกันทุกครั้งไป ตัวอย่างเช่น การรวบรวมเส้นทางของรถยนต์ การมุ่งที่จะตรวจสอบผลงานหรือการทำงาน (ดูผลผลิต ซึ่งไม่ตรงกับแนวคิดของ Constructivism )
ที่มา http://jeeradate.com/wp/?p=249

ตรวจสอบและทบทวน บทที่ 4

ตรวจสอบและทบทวน (Review and Reflect on your learning)
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผน จัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกําหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน

สรุป

สรุป (Conclusion)
ผู้สอนเป็นบุคคลที่มีความสําคัญมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนทุกคนต้องตระหนักและ ยอมรับเสมอว่าครูมีหน้าที่สอนผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันทุกกลุ่มและทุกรายวิชา ไม่ว่าผู้เรียนจะมีความ พิการหรือไม่ก็ตาม ผู้เรียนปกติทั่วไปก็มีความแตกต่างในความสามารถและลักษณะนิสัย ดังนั้นการคํานึงถึง การออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design ) จึงมีความจําเป็น โดยก่อนอื่นผู้สอนต้องสํารวจทําความรู้จัก ผู้เรียนที่จะสอนให้ทั่วถึง สํารวจดูว่ามีผู้เรียนที่พิการในห้องเรียนไหม หรือมีใครที่มีความต้องการพิเศษทาง การศึกษา เช่น ทํางานช้า เรียนรู้ช้า มีสมาธิสั้น เป็นต้น และที่สําคัญ ต้องสังเกตแบบ/ลีลาการเรียนรู้ (Learning Style) ของผู้เรียน คือ ผู้เรียนบางคนสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการฟังบรรยาย ผู้เรียนบางคนจะเข้าใจได้ดีต้องมี รูปภาพประกอบหรือใช้สื่อตัวอย่างแสดงให้เห็น หรือผู้เรียนบางคนต้องลงมือปฏิบัติ การจัดทําสื่อการสอน ควรคํานึงถึงผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียนปกติหรือพิการ เช่น จัดทําวิดีโอเทป หรือเพาเวอร์พอยท์ ประกอบเสียงและตัวหนังสือกํากับ เป็นต้น เมื่อรู้จักผู้เรียนแล้วผู้สอนจะได้เลือกแบบ/ลีลาการสอน (Teaching Style) ได้ถูกแบบการสอนมีหลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับผู้เรียนหลายประเภท เช่น ในบางเนื้อหา อาจเป็นการบรรยาย บางเนื้อหาอาจให้ลงไปเก็บข้อมูลตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้วนํามาเสนอ อภิปรายร่วมกัน เป็นต้น การเขียนคําอธิบายรายวิชาควรมีความชัดเจนว่า ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้อะไร โดยวิธีใคและ
คาดหวังอย่างไร ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเสนอแนะในสิ่งที่ต้องการอยากรู้เพิ่มเติม หรือปรับกิจกรรม บางส่วนในรายวิชานั้นๆ ได้ด้วย

การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้

การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
Marzano: (2012) ได้สรุปกลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้าง สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ไว้ดังตาราง
กลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
1) การกําหนดวัตถุประสงค์และ ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Setting Objectives Feedback)
2) เสริมแรงและสร้างความยอมรับ
3) การเรียนแบบร่วมมือ

กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิด ของ Marzano
การตั้งจุดมุ่งหมาย/จุดประสงค์ (Setting objectives) แนวทางการตั้งจุดประสงค์ มีดังนี้ 1) ตั้ง จุดประสงค์ให้ชัดเจนตามเกณฑ์แต่ไม่ตายตัว 2) สื่อสารจุดประสงค์ให้กับผู้เรียนและครอบครัวได้เข้าใจ ตรงกัน 3) เชื่อมโยงจุดประสงค์การเรียนรู้กับสิ่งที่เรียนรู้เดิมและการเรียนรู้ใหม่ 4. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ ตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ จุดประสงค์การเรียนรู้และนําไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติและความเข้าใจ ซึ่งแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มี ประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) ข้อมูลย้อนกลับจะต้องมีความถูกต้องและละเอียดในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเป็น ประโยชน์ต่อไป 2) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรคํานึงถึงเวลาที่เหมาะสมและจําเป็น 3) การให้ข้อมูลย้อนกลับ ควรมีเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน 4) ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ
การให้การเสริมแรง (Reinforcing Effort) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างการเสริมแรงและผลสัมฤทธิ์ 2) แจ้งผู้เรียนให้ชัดเจนในวิธีการ กระบวนการในการให้แรงเสริม 3) ถามผู้เรียนถึงผลที่เกิดจากการเสริมแรงสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การให้การยอมรับ (Providing Recognition) มีวิธีการดังนี้ 1) ส่งเสริม เป้าหมายมุ่งเน้นการเป็นผู้ รอบรู้ 2) ให้การยกย่อง สําหรับสิ่งที่เป็นไปตามความคาดหรือทั้งในด้านการปฏิบัติและพฤติกรรม 3) ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม ในการแสดงการยอมรับ เป็นการให้รางวัล
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีวิธีการดังนี้ 1) ควรยึดหลักของการมี ปฏิสัมพันธ์ทางบวกและการรับผิดชอบในความสําเร็จส่วนบุคคล 2) จัดเป็นกลุ่มเล็ก 3-5 คน 3) ใช้การ เรียนรู้แบบร่วมมืออย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
การใช้การแนะนําและคําถาม (Cues and Questions) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้เฉพาะประเด็นที่สําคัญ 2) ให้คําแนะนําที่ชัดเจน 3) ถามคําถามเชิงอนุมาน 4) ถามคําถามเชิงวิเคราะห์
การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้การอธิบายในการสร้างมโน ทัศน์ล่วงหน้า 2) ใช้การบรรยายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า 3) ใช้สรุปภาพรวมในการสร้างมโนทัศน์ ล่วงหน้า 4) ใช้กราฟิกในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
การใช้ภาษากายแสดงออก (Nonlinguistic Representations) มีวิธีการดังนี้ 1)ใช้กราฟิกในการ นําเสนอ 2) จัดกระทําหรือทําตัวแบบ 3)ใช้รูปแสดงความคิดนําเสนอ 4) สร้างรูปภาพ, สัญลักษณ์
สรุปและจดบันทึก (Summarizing and note talking) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนให้รู้จัก วิธีการบันทึก สรุป ที่มีประสิทธิภาพ 2) ใช้แบบฟอร์มการสรุป 3) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบันทึกการ สอน ซึ่งกันและกัน
การให้การบ้าน (Assigning Homework) มีวิธีการดังนี้ 1)พัฒนาและสื่อสาร นโยบายการ มอบหมายการบ้านของโรงเรียน 2) ออกแบบการบ้านที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทางวิธีการ 3) ให้ข้อมูล ย้อนกลับในงานที่มอบหมาย
การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice) มีวิธีการดังนี้ 1)ต้องบอกถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ อย่างชัดเจน 2) ออกแบบการปฏิบัติที่ เจาะจงและเวลาเหมาะสม 3) ให้ทํากิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา
การบอกความเหมือนและความแตกต่าง (Identifying Similarity) มีวิธีการดังนี้ 1) วิธีการบอก ความเหมือนความแตกต่างที่หลากหลายวิธี 2) แนะนํานักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการกําหนด ความเหมือนความแตกต่าง 3) ให้คําแนะนําที่ช่วยให้นักเรียน กําหนดความเหมือนความแตกต่างได้
การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses) มีวิธีการดังนี้ 1)ให้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในรูปแบบของการสร้างและทดสอบสมมติฐานที่หลากหลาย 2) การและให้ นักเรียนอธิบายสมมติฐานและและข้อสรุป

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
Jon Wiles (2009: 56 - 57) สรุปว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) หมายถึง สภาวะ แวดล้อมที่ อยู่รอบๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ในด้านรูปธรรมเป็นสภาพแวดล้อมทาง กายภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่นขนาด การวางผัง แสง ที่นั่ง ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก ห้องเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หรือทางภาษา โดยสามารถใช้อาคารในการจัด พื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะ จัดสื่อที่หลากหลาย สําหรับนักเรียนแต่ละคน และเป็นสื่อ บูรณาการสะดวกเหมาะสมกับหลักสูตร เป็นศูนย์การเรียนรู้สื่อประสม เป็นต้น สภาพแวดล้อม ที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทางจิตใจหรือบรรยากาศทางจิตใจ ส่งผลต่อ ผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ โดยสรุปสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การจัดการเรียนรู้และการ จัดการชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ คือมีความรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
Bob Pearlman (http://go.solution-tree.com 21stcenturyskills อ้างถึงใน นฤมล ปภัสสรานนท์ 2558: 67-68) ได้นําเสนอบทความเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนทักษะใน ศตวรรษที่ 21 โดยตั้งคําถามว่า"ความรู้และทักษะอะไรบ้างที่จําเป็นสําหรับ นักเรียนในศตวรรษที่ 21" และ ควรตอบคําถามตามประเด็นคําถามต่อไปนี้
- อะไร คือ หลักสูตร การเรียนการสอน และกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- สิ่งที่ใช้ ประเมินผลการเรียนรู้ทั้งระดับโรงเรียน และระดับชาติ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของ นักเรียน การมีส่วนร่วมของนักเรียน และการบริหารตนเอง
- เทคโนโลยีจะสามารถสนับสนุนการเรียนการสอน หลักสูตรและการประเมินผลของศตวรรษ ที่ 21 เพื่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไร
- อะไร คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ (ห้องเรียนโรงเรียนและโลกแห่งความจริง) ที่ ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จากการศึกษาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Environments) จาก เว็บไซด์ http://www.21stcenturyskills.org/route2v ได้นําเสนอสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้
ว่า คือ ระบบสนับสนุนที่จัดสรร เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการ เพื่อ การเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคนและสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือและชุมชนที่ สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนและนักการศึกษา เพื่อที่จะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 นี้ ตาม ความต้องการของทุกคน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นระบบ ที่สอดคล้องกันได้อย่างลง ตัว คือ
- สร้างข้อปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ ให้การสนับสนุนจากผู้คนโดยรอบและสภาพแวดล้อมทาง กายภาพที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ผลเชิงทักษะในศตวรรษที่ 21
- สนับสนุน ชุมชน การเรียนรู้ระดับ มืออาชีพที่ช่วยให้ นักการศึกษา ทํางานร่วมกันแบ่งปันวิธี ปฏิบัติที่ดีที่สุดและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
- ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ใน บริบทของ ศตวรรษที่ 21 (เช่นผ่านโครงการหรืองานอื่น ๆ ที่ นําไปใช้
- ช่วยให้เข้าถึง เครื่องมือการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเทคโนโลยีและทรัพยากร
- จัดสรร ให้ การออกแบบ เชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศตวรรษที่ 21สําหรับการ เรียนรู้แบบ กลุ่ม, ทีมงานและของแต่ละบุคคล
- รองรับ ชุมชนที่มี การขยายตัวและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศในการเรียนรู้ทั้ง การเรียน แบบเผชิญหน้า face to face และ ออนไลน์

กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Classroom Instruction That Works) Marzano (2012) ได้เสนอกลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 
1. การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning) 
2. การช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจ (Helping students Develop Understanding)
3. การช่วยให้ผู้เรียนให้ขยายและนําความรู้ไปใช้ (Helping students Extend and Apply Knowledge)
กลวิธีที่ 1 เป็นพื้นฐานสําคัญ เมื่อผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง
กลวิธีที่ 2 เป็นการช่วยผู้เรียนในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดการกับความรู้ จัดลําดับและ เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ตรวจสอบความรู้และสร้างมโนทัศน์ (Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวน การบูรณาการและเรียนรู้กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ 1) การสร้างขั้นตอนที่
จําเป็นในแต่ละกระบวนการหรือทักษะ 2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติ อย่างหลากหลาย 3)ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา
กลวิธีที่ 3 คือ ช่วยผู้เรียนขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้มากกว่า คําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายขอบข่ายความรู้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ ในชีวิตจริงเป็นบริบทแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) มีความเป็นเหตุเป็นผล จึงเป็นการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
Jon Wiles (2009: 56 - 57) สรุปว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) หมายถึง สภาวะ แวดล้อมที่ อยู่รอบๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ในด้านรูปธรรมเป็นสภาพแวดล้อมทาง กายภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่นขนาด การวางผัง แสง ที่นั่ง ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก ห้องเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หรือทางภาษา โดยสามารถใช้อาคารในการจัด พื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะ จัดสื่อที่หลากหลาย สําหรับนักเรียนแต่ละคน และเป็นสื่อ บูรณาการสะดวกเหมาะสมกับหลักสูตร เป็นศูนย์การเรียนรู้สื่อประสม เป็นต้น สภาพแวดล้อม ที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทางจิตใจหรือบรรยากาศทางจิตใจ ส่งผลต่อ ผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ โดยสรุปสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การจัดการเรียนรู้และการ จัดการชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ คือมีความรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
Bob Pearlman (http://go.solution-tree.com 21stcenturyskills อ้างถึงใน นฤมล ปภัสสรานนท์ 2558: 67-68) ได้นําเสนอบทความเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนทักษะใน ศตวรรษที่ 21 โดยตั้งคําถามว่า"ความรู้และทักษะอะไรบ้างที่จําเป็นสําหรับ นักเรียนในศตวรรษที่ 21" และ ควรตอบคําถามตามประเด็นคําถามต่อไปนี้
อะไร คือ หลักสูตร การเรียนการสอน และกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สิ่งที่ใช้ ประเมินผลการเรียนรู้ทั้งระดับโรงเรียน และระดับชาติ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของ นักเรียน การมีส่วนร่วมของนักเรียน และการบริหารตนเอง
เทคโนโลยีจะสามารถสนับสนุนการเรียนการสอน หลักสูตรและการประเมินผลของศตวรรษ ที่ 21 เพื่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไร
อะไร คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ (ห้องเรียนโรงเรียนและโลกแห่งความจริง) ที่ ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จากการศึกษาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Environments) จาก เว็บไซด์ http://www.21stcenturyskills.org/route2v ได้นําเสนอสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้
ว่า คือ ระบบสนับสนุนที่จัดสรร เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการ เพื่อ การเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคนและสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือและชุมชนที่ สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนและนักการศึกษา เพื่อที่จะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 นี้ ตาม ความต้องการของทุกคน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นระบบ ที่สอดคล้องกันได้อย่างลง ตัว คือ
สร้างข้อปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ ให้การสนับสนุนจากผู้คนโดยรอบและสภาพแวดล้อมทาง กายภาพที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ผลเชิงทักษะในศตวรรษที่ 21
สนับสนุน ชุมชน การเรียนรู้ระดับ มืออาชีพที่ช่วยให้ นักการศึกษา ทํางานร่วมกันแบ่งปันวิธี ปฏิบัติที่ดีที่สุดและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ใน บริบทของ ศตวรรษที่ 21 (เช่นผ่านโครงการหรืองานอื่น ๆ ที่ นําไปใช้
ช่วยให้เข้าถึง เครื่องมือการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเทคโนโลยีและทรัพยากร
จัดสรร ให้ การออกแบบ เชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศตวรรษที่ 21สําหรับการ เรียนรู้แบบ กลุ่มทีมงานและของแต่ละบุคคล
รองรับ ชุมชนที่มี การขยายตัวและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศในการเรียนรู้ทั้ง การเรียน แบบเผชิญหน้า face to face และ ออนไลน์

กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Classroom Instruction That Works) Marzano (2012) ได้เสนอกลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ส่วน คือ
1. การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
2. การช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจ (Helping students Develop Understanding)
3. การช่วยให้ผู้เรียนให้ขยายและนําความรู้ไปใช้ (Helping students Extend and Apply Knowledge)
กลวิธีที่ เป็นพื้นฐานสําคัญ เมื่อผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง
กลวิธีที่ เป็นการช่วยผู้เรียนในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดการกับความรู้ จัดลําดับและ เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ตรวจสอบความรู้และสร้างมโนทัศน์ (Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวน การบูรณาการและเรียนรู้กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ 1) การสร้างขั้นตอนที่
จําเป็นในแต่ละกระบวนการหรือทักษะ 2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติ อย่างหลากหลาย 3)ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา
กลวิธีที่ คือ ช่วยผู้เรียนขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้มากกว่า คําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายขอบข่ายความรู้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ ในชีวิตจริงเป็นบริบทแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) มีความเป็นเหตุเป็นผล จึงเป็นการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย

แบบการสอน

แบบการสอน

แบบการสอน (Styles of teaching) เป็นการแสดงคุณค่าของครูแต่ละคน เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ ทําให้ครูคนหนึ่งแตกต่างไปจากครูคนอื่นๆ ประกอบด้วยการแต่งกาย ภาษา เสียง กริยาท่าที่ ระดับพลัง การแสดงออกทางสีหน้า แรงจูงใจ ความสนใจในบุคลอื่น ความสามารถในการแสดงเชาว์ปัญญาและความคง แก่เรียน
ครูมีความพร้อมที่จะปรับสไตล์การสอนแบบใดแบบหนึ่งโดยที่รู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ครูเป็น เสมือนผู้ช่วยเหลือ ผู้กวดขันวินัย นักแสดง เพื่อน ภาพลักษณ์ของพ่อหรือแม่ ผู้ปกครองที่มีอํานาจ จิตรกร พี่ชายใหญ่ หรือพี่สาวใหญ่ หรือแสดงหรือเป็นตัวอย่างของรูปแบบการสอนสไตล์การสอนเป็นคุณภาพที่ แผ่ซ่านอยู่ในพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เป็นคุณภาพที่คงอยู่แม้ว่าเนื้อหาจะเปลี่ยนแปลง” (Fischer and Fischer, 1976: 245) หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นคุณภาพตามเนื้อหาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร คุณภาพของจะคงอยู่ ฟิสเชอร์ทั้งสองได้สังเกตว่าครูมีความแตกต่างกันในรูปแบบการสอน เช่นเดียวกับประธานาธิบดีของรัฐบาล อเมริกาแต่ละบุคคลที่มีรูปแบบการพูดที่แตกต่างกัน นักวาดภาพที่มีชื่อเสียงที่มีความแตกต่างกันในรูปแบบ ของกิจกรรมหรือนักเทนนิสที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางที่มีรูปแบบการเล่นที่เป็นของตัวเองไม่เหมือนใคร
ครูที่มีเสียงสูงและเสียงแบนจะมีความยากในการใช้วิธีสอนแบบบรรยาย ครูที่แต่งเครื่องแบบหรือมี ท่าทางที่เป็นทางการจะสามารถจัดการกับห้องเรียนที่อึกทึกได้ ครูที่ขาดความเชื่อมั่นในทักษะการจัดการ อาจจะรู้สึกไม่ชอบใจกับความเป็นอิสระอย่างไม่มีขอบเขตของผู้เรียนไม่ชอบใจกับการอภิปรายชนิดที่เป็น ปลายเปิด และถ้าครูระดับต่ํามีแนวจูงใจต่ําที่จะปฏิเสธการอ่านเรียงความหรือรายงานประจําภาคของผู้เรียน อย่างระมัดระวังแล้ว วิธีเช่นนี้จะมีประโยชน์น้อยมาก
ครูที่มีใจชอบความคงแก่ผู้เรียน ชอบที่จะรวมเอาวิธีสอนหลากหลายที่ได้จากผลการวิจัยมาใช้ ครูที่ ให้ความสนใจกับประชาชนจะเลือกวิธีสอนที่ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันและนักเรียนไม่เพียงแต่จะมี ปฏิสัมพันธ์กับคนทั่วๆ ไปทั้งในและนอกโรงเรียนด้วย
ครูที่มีความเชื่อมั่นกับงานของตนเอง จะเชื้อเชิญให้ผู้อื่นมาเยี่ยมชมชั้นเรียนจะใช้ทรัพยากรบุคคล โสตทัศนูปกรณ์ วีดีทัศน์ เป็นกิจกรรมในชั้นเรียน ครูที่มีความเป็นประชาธิปไตยจะออกแบบกิจกรรมการ เรียนการสอนที่ยอมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ครูบางคนปฏิเสธที่จะใช้โสตทัศนูปกรณ์ เพราะรู้สึกว่าไม่มีสมรรถนะเพียงที่จะใช้เครื่องมือ และมี เจตคติว่าการใช้สื่อทําให้เสียคุณค่าของเวลา
แบบการสอนของผู้สอน มีความสัมพันธ์บางอย่างกับแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ผู้เรียนบางคนมีความสามารถในการแสดงออกด้วยการพูดดีกว่าการเขียน บางคนสามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับ เรื่องของนามธรรม ในขณะที่คนอื่นๆ เพียงแต่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น บางคนเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคนิคการฟังและการคมากกว่าการอ่าน บางคนสามารถทํางานภายใต้ ความกดดันได้ ผู้เรียนที่มีแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างในแบบการสอนด้วย ในความจริงแล้วจํานวนผู้เรียนยิ่ง มากขึ้นเท่าไรความแตกต่างของผู้เรียนยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ผู้สอนต้องรับรู้ว่าแบบการสอนสามารถให้ความ กระทบอย่างแรงกล้าต่อสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน แบบการสอนแต่ละครั้งสามารถที่จะผสมผสานให้เข้ากับ จุดหมายของผู้เรียนได้
แบบการสอนไม่สามารถเลือกในลักษณะเดียวกันกับการเลือกกลวิธีการสอนได้ แบบการสอน ไม่ใช่สิ่งที่พร้อมที่จะเปิดปิดสวิตซ์ได้ ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายที่จะเปลี่ยนการมุ่งงานไปเป็นการมุ่งให้ผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง เรื่องทํานองนี้เป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะทําได้ เหนือสิ่งอื่นใด ผู้สอนที่ไม่มีการตื่นเต้นทางอารมณ์ จะเปลี่ยนเป็นผู้สอนที่มีความตื่นเต้นทางอารมณ์ได้หรือไม่ มีคําตอบอยู่สองคําถามเกี่ยวกับแบบการสอนว่า ผู้สอนสามารถเปลี่ยนแบบการสอนได้หรือไม่ และผู้สอนควรเปลี่ยนแบบการสอนหรือไม่
บางที่จะพบว่า คําถามที่ยิ่งใหญ่ คือ ผู้สอนควรเปลี่ยนแปลงแบบการสอนหรือไม่ มีคําตอบอยู่สาม ข้อต่อคําถามที่ตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่าผู้สอนสามารถเปลี่ยนแบบการสอนได้ คือ ประการแรก แนวคิดที่ว่า แบบการสอนตรงกับแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงได้มีความพยายามที่จะวิเคราะห์แบบการสอนและแบบ การเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างถูกต้องสมควร และจัดกลุ่มผู้เรียนและผู้สอนที่มีแบบการเรียนและแบบการสอนที่ สอดคล้องกัน
ประการที่สอง ตามแนวความคิดที่ว่า มีคุณความดีบางอย่างในการที่จะเผยให้ผู้เรียนทราบถึงแบบ การเรียนรู้ของบุคคลที่มีความหลากหลายแตกต่างกันอย่างมากในระหว่างที่พบเห็นในโรงเรียน เพื่อให้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในแบบต่างๆ แม้ว่าผู้เรียนบางคนอาจจะชอบมากกว่าที่จะให้มี โครงสร้างแต่เพียงเล็กน้อย ไม่เป็นทางการ ใช้วิธีการผ่อนคลายในขณะที่อยู่ในโรงเรียน ผู้เรียนที่จบจาก มัธยมตอนปลายที่มุ่งงาน และผู้สอนที่ยึดวิชาเป็นศูนย์กลางจะเป็นคนที่เรียกว่า เท้าอุ่น จะมีหลัก มีความ มั่นคงช่วยให้ประสบผลสําเร็จ
ประการที่สามต่อคําถามว่า ผู้สอนควรจะเปลี่ยนแบบการสอนหรือไม่ มีแนวคิดว่า ครูควรจะ ยืดหยุ่น ใช้แบบการสอนให้มากว่าหนึ่งแบบ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าหลากวิธีการสอนให้ผู้เรียนกลุ่ม เดียวกัน หรือกับผู้เรียนต่างกลุ่มกันคําตอบนี้รวมถึงลักษณะของการตอบประการแรกประการที่สองด้วย ผู้สอนจะมีหลากหลายแบบการสอนสําหรับกลุ่มผู้เรียนพิเศษด้วยสัญลักษณ์ที่เหมือนกัน ถ้าผู้สอนสามารถทํา ได้ ทําให้ผู้เรียนพบกับแบบการสอนที่หลากหลายของผู้สอน อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่รับเลือกต้องอนุโลมให้มี แบบการสอนที่สามารถเรียนแบบได้ด้วย นั่นคือ เหตุผลที่แสดงว่า ทําไมเป็นเรื่องสําคัญสําหรับผู้สอนที่ต้องรู้ ว่าผู้เรียน เป็นใคร เป็นอะไร และเชื่อถืออะไรบ้าง ดันน์และดันน์ ได้กล่าวว่า เกี่ยวกับผลของเจตคติความเชื่อ ของครูต่อแบบการสอนว่า
เจตคติของครูต่อโปรแกรมการเรียนการสอน วิธีการสอนและแหล่งวิทยาการที่หลากหลาย ตลอดจนลักษณะของเด็กๆ หรือผู้เรียนที่ผู้สอนชอบทํางานด้วยผสมผสานหลอมหล่อกันเป็นส่วนหนึ่งของแบบการสอนอย่างไรก็ตามมีความจริงอยู่ว่า ผู้สอนบางคนเชื่อในรูปแบบของการเรียนการสอนพิเศษซึ่ง ไม่ใช่การปฏิบัติอื่นๆ ซึ่งผู้สอนไม่ได้ให้ความเชื่อถือ (อํานาจในการบริหารหรืออํานาจของชุมชน ความไม่ สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรืออดทนต่อแรงกดดัน) และความเป็นจริงด้วยเหมือนกันอีกว่า ผู้สอนอาจจะ ชอบผู้เรียนที่มีความแตกต่างไปจากที่สอนอยู่มากกว่าก็เป็นได้
ฟิชเชอร์และฟิชเชอร์ ได้บ่งชี้แบบการสอนที่ประกอบด้วย การรอบรู้ภาระการงาน การวางแผน การร่วมมือกัน การให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการให้ความตื่นเต้นทางอารมณ์และเป็นแบบอย่าง
การมุ่งงาน ครูจะกําหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และบอกถึงความต้องการในการปฏิบัติงานของ นักเรียน การเรียนที่จะประสบผลสําเร็จอาจจะเฉพาะเจาะจงไปที่พื้นฐานของนักเรียนแต่ละคน และมีระบบที่ จะให้นักเรียนแต่ละคนเป็นไปตามความคาดหวังอย่างชัดเจนมั่นคง
การวางแผนการร่วมมือกัน ครูร่วมกันวางแผนวิธีการและจุดหมายปลายทางของการเรียนการสอน ด้วยความร่วมมือของนักเรียน ครู ไม่เพียงแต่จะรับความคิดเห็นเท่านั้น แต่ครูต้องกระตุ้นให้การสนับสนุน การมีส่วนร่วมของนักเรียนทุกระดับชั้นด้วย
การให้นักเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง ครูจัดหาจัดเตรียมโครงสร้างต่างๆ สําหรับนักเรียนเพื่อให้ติดตาม แสวงหาความรู้ตามที่ต้องการหรือตามความสนใจ สไตล์แบบนี้ไม่เพียงแต่จะพบว่ามีน้อย แต่เกือบจะเป็นไป ไม่ได้ที่จะจินตนาการให้เป็นไปตามที่คาดหวัง เพราะว่าชั้นเรียนที่มีอัตราส่วนระหว่างนักเรียนกับครู และ นักเรียนกับสิ่งแวดล้อมในความรับผิดชอบจะกระตุ้นส่งเสริมความสนใจของนักเรียนบางคน และทําให้ นักเรียนบางคนเกิดความท้อแท้ใจโดยอัตโนมัติ
การให้เนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง วิธีการนี้ครูจะเน้นไปที่เนื้อหาวิชาที่จัดไว้ดีแล้ว โดยกับผู้เรียน ออกไป และคิดว่าเนื้อหาวิชาที่จัดนั้น ครอบคลุมรายวิชาครูจะพึ่งพอใจแม้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นน้อย
การให้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง วิธีการนี้ครูจะให้ความสําคัญเท่าๆ กันระหว่างนักเรียนและ จุดประสงค์ของหลักสูตร ตลอดจนสิ่งที่จะใช้ในการเรียน ครูจะปฏิเสธการเน้นอย่างมากเกินไปทั้งในด้าน การให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการให้เนื้อหาเป็นศูนย์กลางแทนการช่วยเหลือนักเรียน โดยไม่คํานึงว่า นักเรียนมีความสามารถหรือไม่มีความสามารถ เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่เป้าประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ให้ดีเท่าๆ กับอิสรภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน
ให้มีการตื่นเต้นทางอารมณ์และเป็นแบบอย่าง วิธีการนี้ครูจะแสดงอารมณ์ที่เกี่ยวกับการสอนอย่าง เข้มข้น ครูจะเข้าไปอยู่ในกระบวนการสอนอย่างใจจดใจจ่อ และโดยปกติแล้วจะก่อให้เกิดบรรยากาศของ ชั้นเรียนที่ตื่นเต้นและมีอารมณ์ร่วมสูง
ไม่มีข้อสงสัยเลยที่จะพบว่าประเภทของการสอนบางอย่างชวนให้ใช้และได้รับการยอมรับมากกว่า ประเภทอื่นๆ เราอาจจะบ่งชี้ได้ว่าการสอนบางประเภทเป็นลบ (ตัวอย่างคือ พฤติกรรมที่ไม่เป็น ประชาธิปไตย) บางประเภทเป็นบวก (เช่น การคํานึงถึงนักเรียน) เราซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต คงจะยอมรับประเภท ของการสอนซึ่งเป็นแบบอย่างของตน ดังที่ ฟิชเชอร์และฟิชเชอร์ ได้กล่าวว่า
เราไม่ได้พิจารณาว่าสไตล์การสอนและการเรียนรู้ทั้งหมดมีความเหมาะสมเท่าเทียมกัน มีอยู่ บ่อยครั้งที่การสอนนั้นๆ เป็นสิทธิของการปฏิบัติที่ไม่สามารถจะโต้แย้งได้เอาล่ะนั้นมันเป็นวิธีการของผม/
ฉัน ผมมีวิธีการของผม คุณมีวิธีการของคุณ และแต่ละวิธีการก็ดีเหมือนๆ กับวิธีการอื่นๆถ้าทุกความคิด ของวิธีการนั้นๆ อยู่บนพื้นฐานของความผูกพันต่อการเรียนการสอนรายบุคคล และพัฒนาการของอิสรภาพ ของผู้เรียน เราไม่ยอมรับการสอนประเภทที่ส่งเสริมการบังคับให้ปฏิบัติตามและขึ้นอยู่กับผู้อื่น (Fisher and fisher, 1976 : 409 – 401)