วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

หลักการประเมินผลการเรียนรู้


การประเมินผลการเรียนรู้นั้นควรจะเป็นกระบวนการที่มีหลักการมารองรับเสมอ หลักการที่จะ ควบคุมกระบวนการการประเมินผลการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้
1. การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน การประเมินลักษณะความสามารถ ของผู้เรียนและองค์ประกอบอื่นๆด้านการเรียนการสอนนั้นต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนซึ่งสอดคล้องกับ จุดประสงค์ของโรงเรียนและของชาติ องค์ประกอบสําคัญของกระบวนการทางการศึกษาควรมีโครงร่างที่ เหมาะสมและความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียนควรเป็นสิ่งสําคัญอันดับแรก
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน การ ประเมินผลควรมีการนําเอาองค์ประกอบที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติของผู้เรียนที่เฉพาะเจาะจงตามที่ระบุไว้ใน จุดประสงค์มาพิจารณาเพื่อเลือกขั้นตอนในการประเมินผลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ การประเมินผลควรจะครอบคลุมองค์ประกอบด้าน ความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างกว้างขวาง ควรจะประเมินพัฒนาการของนักเรียนในผลการเรียนรู้คาดหวังทุก ข้อ การประเมินผล ไม่ควรจะยึดตามการพัฒนาทางปัญญาเช่นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการคิดเท่านั้น แต่ควร จะรวมถึงการพัฒนาด้านจิตใจ และทักษะ เช่นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรมและการปฏิบัติจริงอีกด้วย
4. การประเมินผลควรทําอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลควรทําอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมและ ประเมินพัฒนาการของผู้เรียน การประเมินผลควรจะทําคู่ขนานไปกับกระบวนการในการศึกษาที่ผู้เรียนได้รับ การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้ กระบวนการประเมินผลควรสามารถที่ จะเจาะลึกถึงธรรมชาติของสถานการณ์การเรียนการสอนได้เช่นเดียวกับสาเหตุของปัญหาที่ขัดขวาง ประสิทธิภาพของกระบวนการการเรียนรู้และพัฒนาการที่เหมาะสมของนักเรียนในชั้นเรียน ควรจะให้ข้อมูล ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ดี อย่างไรก็ตามข้อมูลที่รวบรวมผ่านกระบวนการการประเมินผล ไม่ควรที่จะนํามาใช้เพื่อเก็บบันทึกเพียงอย่าง เดียว แต่ควรถูกนํามาใช้ ประยุกต์ หรือตอบสนองเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียน วิธีการสอน และเรื่องอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องที่จะส่งผลต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน
6. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน การประเมินผล ไม่ควรจะเป็นการทํางานของ บุคคลเพียงไม่กี่คน โดยควรจะเป็นความพยายามร่วมกันของทุกคนที่เกี่ยวข้องในการเรียนการสอนใน หลักสูตรของโรงเรียน เพื่อให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพและประสบผลสําเร็จ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และตัวผู้เรียนเองและแม้กระทั่งคนในชุมชนหากจําเป็นควรจะทํางานร่วมกันเพื่อการประเมินผลการพัฒนา และความก้าวหน้าของผู้เรียนที่ดีขึ้น
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะทําให้การ ประเมินผลให้ผลที่สมบูรณ์แบบ ผลการประเมินไม่ได้ให้ข้อมูลโดยตรงเสมอไปเพราะเครื่องมือที่ใช้ในการ Iะเมินผลไม่ได้มีความแม่นยําที่สุดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการประเมินผล การตัดสินที่รอบคอบและเฉียบ
ขาดจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น