วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้


การกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
The SOLO taxonomy
The SOLO taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่าง ๆ กันของคําถาม และคําตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็น ผลงานของ Biggs and Collis (1982), “SOLO, มาจากคําว่า Structure of Observed Learning Outcome, :เป็นระบบที่นํามาช่วยอธิบายว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความ หลากหลายของภาระงานทางวิชาการ โดยที่นิยามจุดประสงค์ของหลักสูตร ปฏิบัติเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้ SOLO Taxonomy ในการกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
The SOLO Taxonomy คือ การกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอน และการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น แต่ SOLO Taxonomy เป็นกระบวนการที่ให้ความสําคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ สิ่งที่สําคัญประการหนึ่งคือ ครูจะมีวิธีสอนอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความ ซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขึ้น SOLO Taxonomy ได้รับการเสนอโดย Biggs และ Collis
The SOLO taxonomy เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs and Collis (1982), “SOLO, มาจากคําว่า Structure of Observed Learning Outcome, เป็นระบบที่นํามาช่วยอธิบาย ว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความหลากหลายของภาระงาน ทางวิชาการ โดยที่นิยามจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ เพื่อประเมินผลการ เรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้ SOLO taxonomy จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียนตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจาก หลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น แนวคิดดังกล่าวถูกนําไปกําหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาหลายแห่ง สืบเนื่องจากสามารถนําไปใช้ได้ในหลายสาขาวิชา การประเมิน ความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน ซึ่ง ความเข้าใจดังกล่าวแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (1) ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้าง เดี่ยว (Uni-structural) (3) ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structural) (4) ระดับความสัมพันธ์ของ โครงสร้าง (Relational Level) และ (5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Biggs และ Collis เสนอวิธีการไว้ดังต่อไปนี้ 1) กําหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน (To set learning objectives appropriate to where a student should be at a particular stage of their program) และ2) ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน (To assess the learning outcomes attained by each student) เมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่า คํากริยาที่นํามาใช้เพื่อการประเมินมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละระดับ ดังนี้
ระดับ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) นักเรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วน ๆ ที่ไม่ ปะติดปะต่อกัน ไม่มีการจัดการข้อมูล และความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน ง่ายต่อการเข้าใจ แต่ไม่ แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structural) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลาย ๆ ชนิดเข้า ด้วยกัน ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของควา
Level) ผู้เรียน เกี่ยวโยงของข้อมูลได้ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมทั้งหมดได้
ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract เชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับ ผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสําคัญ และแนวคิดที่
ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
ประเด็นสําคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้ SOLO Taxonomy
การปรับใช้ SOLO Taxonomy กับแนวคิดการสรรค์สร้างองค์ความรู้ ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่
เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ มีอยู่มากมาย อาทิ
ในการสอนครูผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไร ครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ
แรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด จะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะ ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
การกําหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสําคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
ตามความสามารถ (แทนสิ่งที่ครูมักระบุว่านักเรียนคนนั้น คนนี้ เก่ง / ไม่เก่ง หรือ ดี / ไม่ดี) และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนําไปสู่การเรียนรู้ที่ดี การปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้ สรุปได้ว่า
ทําให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น(ความมุ่งมั่น/เจตนา (Intended) การเรียนรู้ (Learning) ผลผลิต
(Outcomes)
การทดสอบสมรรถนะ --> ILO's --> การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการ ILO ในการบรรลุผลการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย

SOLO Taxonomy มีเหมาะสมดีที่นํามาใช้ในการให้เหตุผลในการกําหนดสมรรถนะในหลักสูตร และรายวิชาต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การกําหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO Taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
        SOL0 4 : การพูดอภิปราย สร้างทฤษฎี ทํานายหรือพยากรณ์
                SOLO 3 :         อธิบาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ
                SOLO 2 : บรรยาย รวมกัน จัดลําดับ
                SOLO 1 : ท่องจํา ระบุ , คํานวณ
บทบาทของการสอบ
การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อนแนวคิดสําคัญ ในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการ ทดสอบสมรรถนะหรือผลผลิตของการสอน นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
ทฤษฎีการวางแผน (ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ (และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดการสอบคล้ายกับการปรับเปลี่ยนจากความชอ แรงจูงใจ (motivation) และแนวทางในการเรียนรู้ (learning guiding) ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียน สอนของครูผู้สอน
การจัดลําดับขั้นของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม (Bloom Taxonomy 1956) เมื่อนํามาสัมพัน กับแนวคิด SOLO Taxonomy ของ Biggs & Collis 1982)
SOLO 1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นความรู้ (จํา) ความเข้าใจ และการนําไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
SOLO 3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมารค่า ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ตัวอย่าง การกําหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
ระดับ SOLO 1 หมายถึง การเลียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิม (Imitative Maintenance) การเขียนแผนจะยึดตําราเป็นหลัก ทําแบบฝึกหัดตามหนังสือ จัดกิจกรรมซ้ำ ๆ เดิม ใช้สื่ออุปกรณ์สําเร็จรูป ไม่มีการประเมินการใช้จริง
ระดับ SOLO 2 หมายถึง การปรับประยุกต์ใช้ (meditative) การนําแผนการสอนที่มีอยู่ให้สง มีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง (real world) มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อย คํานึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ
ระดับ SOLO 3 หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creative-generative) การเขียนแผนที่คํานึงถึง พฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ จะเขียนแผนแนวทางมหภาค ใช้ผลงานการวิจัยประกอบ การสอน เน้นมโนทัศน์ของวิชานั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ

การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับต่ำ / ปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับปานกลาง/พอใช้
ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.00 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับสูงดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น