วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน


การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team-Based Learning: TBL)
การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team-Based Learning: TBL) เป็นกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันภายในทีมและระหว่างทีม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน เกิดการเรียนรู้ในเชิงลึก และเกิดการคิดเชิงวิพากษ์ พร้อมๆ กับเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการทำงานเป็นทีม
ความเข้าใจในการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
               การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team-Based Learning: TBL) เป็นกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันภายในทีมและระหว่างทีม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน เกิดการเรียนรู้ในเชิงลึก และเกิดการคิดเชิงวิพากษ์ พร้อมๆ กับเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการทำงานเป็นทีม
แนวปฏิบัติสำหรับการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐาน
สำหรับแนวปฏิบัติสำหรับผู้สอน ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนใหม่ทั้งรายวิชาหรือกลุ่มหัวข้อที่ต้องการ และออกแบบรายละเอียดการดำเนินการเรียนการสอน ตั้งแต่ก่อนเริ่มชั้นเรียน วันแรกของชั้นเรียน หัวข้อสำคัญของแต่ละตอน และชั่วโมงสุดท้ายของการเรียนการสอน ดังมีรายละเอียดดังนี้
1)  ผู้สอนแบ่งหัวข้อในรายวิชาให้เป็นหน่วยเนื้อหาหลักประมาณ 4-7 หน่วย แต่ละหน่วยมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ควรเตรียมคำถามในลักษณะที่ให้แสดงความคิดเชิงวิพากษ์ประมาณ 1 ถึง 2 ข้อ ในแต่ละหน่วย
2)  ในชั่วโมงแรกของชั้นเรียน ผู้สอนต้องสื่อสารให้ผู้เรียนเข้าใจว่าเหตุใดผู้สอนจึงเลือกใช้กระบวนการเรียนการสอนดังกล่าว และการจัดการเรียนในชั้นเรียนจะเป็นอย่างไร ผู้สอนต้องจัดแบ่งกลุ่มให้เสร็จโดยทั่วไปใช้กลุ่มขนาด 5-7 คน และอธิบายระบบการให้คะแนนจนผู้เรียนเข้าใจและปราศจากความกังวล และสุดท้าย ผู้สอนต้องคิดหามาตรการที่จะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมกลุ่มที่พึงประสงค์และเป็นประโยชน์
3)  มอบหมายงานอ่าน แล้วทำการทดสอบความพร้อมของผู้เรียนโดยใช้แบบทดสอบ RAT โดยทำเป็นรายบุคคลก่อน แล้ว ใช้ข้อคำถามประมาณ 5 คำถาม หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบภายในทีมโดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อภิปรายภายในกลุ่ม
4)  ทีมสามารถอุทธรณ์สำหรับคำถามที่ตอบผิดโดยแสดงเหตุผลที่ชัดเจน การมีขั้นตอนนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้ทีมทบทวนหลักการและแนวคิดของบทเรียนร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งผู้สอนสามารถให้
5)  ช่วงสุดท้ายของการเรียนการสอน ผู้สอนควรย้ำให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ การประยุกต์ใช้เนื้อหาจากการเรียนรู้ คุณค่าของการทำงานเป็นทีมในการผลิตงานหรือแก้ปัญหาที่ยากและท้าทาย ลักษณะการปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาตัวเองของผู้เรียน
เทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้เป็นทีมได้อย่างไร
                จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การเรียนรู้เป็นทีมได้มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือแบบออนไลน์เพื่อการติดต่อสื่อสาร การขับเคลื่อนของทีมอย่างเป็นพลวัตร เพิ่มศักยภาพของทีมให้เกิด active learning และ deep learning เครื่องมือทางออนไลน์เช่น electronic brainstorming, Asynchronous Learning Network (ALN), WebBoard, WebCT และ synchronous chats เป็นต้น กรอบแนวคิด TBL ออนไลน์
  การใช้ระบบ e-learning เพิ่มสมรรถนะของทีม
ระบบ e-Learning สามารถนำมาใช้ในการทำงานเป็นทีม โดยสามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดสิ่งแวดล้อมเสมือนในระบบ e-Learning เพื่อเพิ่มศักยภาพ สมรรถนะในทีมได้เช่น discussion board, virtual classroom, digital drop boxes, task list, calendars เป็นต้น นอกจากนี้ระบบ e-Learning ยังเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในทีมให้สูงขึ้น (Alstete, 2001)
ระบบ e-Learning ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางเช่น Blackboard, WebCT, และ eCollege เป็นระบบที่นิยมใช้ในสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนบนเว็บหรือมีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนทางไกล ระบบ e-Learning ที่ได้มาตรฐานจะราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ใช้งานง่าย สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ และมีเครื่องมือต่างๆ ที่จะอำนวยการเรียนผ่านระบบ เพื่อเพิ่มสมรรถนะของทีมได้ดังนี้ (Alstete, 2001)
1)  ข่าวประกาศ (Announcements) สำหรับการทำงานและเรียนรู้ในทีม สามารถใช้ข่าวประกาศเพื่อนัดแนะการประชุมในกลุ่ม โพสท์หัวข้อที่น่าสนใจ ข่าว แบบฝึกหัด โครงการ ฯลฯ ซึ่งง่ายต่อทีมงานที่จะเข้าถึงข้อมูล และใช้งานในวิธีการดังกล่าว เพราะสมาชิกในทีมหรือหัวหน้าทีม สามารถโพสท์ได้ทุกวัน ทุกเวลา ในแต่ละสัปดาห์ที่เรียนได้
2)  นำเสนอประวัติส่วนตัวของหัวหน้าทีมและสมาชิกในทีม (Team leader and member background information) ในระบบ e-Learning สามารถโพสท์ประวัติสมาชิกในทีม เช่น รูปภาพสมาชิก ประสบการณ์การทำงาน การศึกษา ประวัติการฝึกอบรม และข้อมูลอื่นๆ ที่สมาชิกต้องการทราบ ระบบนี้มีประโยชน์ให้สมาชิกในทีมได้รู้จักกันมากขึ้นและเร็วขึ้น
3)  ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศในหลักสูตร (Course information) เพื่อให้สมาชิกในทีมสามารถโพสท์สารสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นในคอร์ส เช่น ภาระหน้าที่ของสมาชิกในทีม เป้าหมายของทีม วัตถุประสงค์ แผนการประชุม ปฏิทินกิจกรรมต่างๆ ตลอดหลักสูตร เป็นต้น
4)  เอกสารของหลักสูตร (Course documents) ระบบ e-Learning จะสามารถเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร อาทิ word sheets ไฟล์เอกสารสำหรับปฏิบัติงานของสมาชิกในทีม เอกสารการประชุม กำหนดการประชุม รายงานการประชุม เอกสารการนำเสนอต่างๆ งานวิจัยที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ ซึ่งสมาชิกในทีมสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
5)  งานที่มอบหมาย (Assignment) หัวหน้าทีมสามารถมอบหมายงานหรือหน้าที่ที่สมาชิกในทีมต้องรับผิดชอบ ในพื้นที่ที่ระบบจัดให้เช่นเดียวกับการมอบหมายงานในห้องเรียนปกติ
6)  รูปแบบการติดต่อสื่อสาร (Communication feature) ในระบบ e-Learning สามารถเลือกรูปแบบการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในทีมได้ อาทิ
การจัดการความรู้ในทีมกับ e-Learning
                การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปัน และใช้ความรู้  การจัดการความรู้มีองค์ประกอบสำคัญคือ คน เทคโนโลยี และกระบวนการความรู้ (Knowledge Process) โดยที่ คนจัดเป็นแหล่งความรู้และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ส่วนเทคโนโลยีเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการค้นหา รวบรวม จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น สุดท้ายกระบวนการความรู้ เป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ โดยองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนจะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล
                e-Learning ก็เป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการศึกษาที่เป็นแหล่งความรู้ที่ออกแบบและบันทึกในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ เผยแพร่ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ และสำหรับทุกคนอย่างเหมาะสมดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  การนำ e-Learning มาใช้นับเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่สามารถสนับสนุนการจัดการความรู้ในชั้นเรียน อันจะส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในปัจจุบัน e-Learning มีลักษณะเป็น Web Collaborative Learning ที่เน้นการเรียนรู้เป็นทีมและยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีสื่อและเครื่องมือหลายตัวมาช่วยในกระบวนการความรู้
ที่มา http://mblog.manager.co.th/titiya110/th-14010/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น