การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบ RBL มีดังนี้ คือ
หลักการที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน เปลี่ยนแนวคิดจาก ‘เรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’
เป็น ‘การถาม/หาคำตอบเอง’
หลักการที่ 2 เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจาก ‘การเรียนรู้โดยการจำ/ทำ/ใช้’
เป็น ‘การคิด/ค้น/แสวงหา’
หลักการที่ 3 วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก ‘การเรียนรู้โดยการบรรยาย’
เป็น ‘การให้คำปรึกษา’ หลักการที่
4 บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก ‘การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’
เป็น ‘การจัดการให้ผู้เรียน’
รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์และทัศนีย์
บุญเติม (2540) ได้เสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานไว้
4 รูปแบบ ได้แก่
1.
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
คือการให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทำวิจัยในระดับต่างๆ เช่น
การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ การศึกษารายกรณี (Case Study) การทำโครงงาน การทำวิจัยเอกสาร
การทำวิจัยฉบับจิ๋ว (Baby Research) การทำวิทยานิพนธ์
เป็นต้น
2.
การสอนโดยให้ผู้เรียนร่วมทำโครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยในโครงการวิจัย
(Under
Study Concept) ในกรณีนี้ผู้สอนต้องเตรียมโครงการวิจัยไว้รองรับเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทำวิจัย
เช่น ร่วมเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะมีข้อเสียที่ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้กระบวนการทำวิจัยครบถ้วนทุกขั้นตอน
3.
การสอนโดยให้ผู้เรียนศึกษางานวิจัย
เพื่อเรียนรู้องค์ความรู้ หลักการและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นๆ
วิธีการตั้งโจทย์ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา ผลการวิจัย
และการนำผลการวิจัยไปใช้และศึกษาต่อไป ทำให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการทำวิจัยมากขึ้น
4.
การสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน
เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้ว่า ทฤษฎีข้อความรู้ใหม่ๆ
ในศาสตร์ของตนในปัจจุบันเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างศรัทธาต่อผู้สอนรวมทั้งทำให้ผู้สอนไม่เกิดความเบื่อหน่ายที่ต้องสอนเนื้อหาเดิมๆ
ทุกปี
ทิศนา แขมมณี (2548) ได้กล่าวถึงแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัยว่ากระบวนการวิจัยคือวิธีวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัย
และผลการวิจัยก็คือผลที่ได้มาจากการดำเนินงาน ดังนั้นแนวทางในการใช้การวิจัยในการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยการใช้ผลการวิจัยและใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน
การจัดการศึกษาแบบ RBL นั้นมีรูปแบบการจัดการศึกษาดังนี้
RBL ที่ใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอน ประกอบด้วย
การเรียนรู้ผลการวิจัย/ ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน การเรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานวิจัย
RBL ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย
การเรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย การเรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย การเรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย
การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก และการเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์
ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการนำผลการวิจัยมาพัฒนาความรู้ของผู้เรียนนั้นสามารถนำมาใช้ได้ในทุกรายวิชา
ยกตัวอย่างเช่น ผู้เขียนได้จัดกิจกรรมการศึกษาแบบใช้วิจัยเป็นฐานโดยใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระของการใช้กลยุทธ์ในการอ่านภาษาอังกฤษจากผลงานวิจัย
ซึ่งผู้เขียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ
ผู้สอนรวบรวมบทคัดย่อ ผลงานวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์ต่างๆ ที่ใช้ในการอ่านภาษาอังกฤษ
โดยผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใฝ่รู้ เกิดข้อสงสัย อยากรู้ อยากแสวงหาคำตอบของข้อสงสัย
อีกทั้งแนะนำวิธีการอ่านผลงานวิจัย
(2) ผู้สอนให้ผู้เรียนค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ทางการอ่านเพิ่มเติม
โดยผู้สอนได้
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่ผู้เรียนจะต้องสืบค้นเพื่อการศึกษาหาความรู้
ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษารายงานวิจัยต่างๆ และสรุปความรู้เพื่อนำมาอภิปราย
ร่วมกัน โดยเน้นการนำเสนอสาระของงานวิจัยอย่างเชื่อมโยงกับสาระที่กำลังเรียนรู้
เช่น การนำกลยุทธ์การอ่านมาใช้ขณะที่อ่านเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสรุปใจความสำคัญ หรือพัฒนาทักษะการอ่านเร็ว
เป็นต้น หลังจากนั้นมอบหมายให้ผู้เรียนทำการประเมินใน
2 ประเด็นดังนี้คือ
(1) ประเมินการแสวงหาแหล่งความรู้ต่างๆ
(2) ประเมินการเรียนรู้ของตนเองเกี่ยวกับผลการวิจัย
ประโยชน์จากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
เนื่องจากการวิจัยเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงโดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน
เมื่อนำไปใช้ในระดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของปรียนันท์ สิทธิจินดา (2552) ที่กล่าวไว้ว่าการเรียนแบบใช้วิจัยเป็นฐานนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจวิชาที่เรียนมากขึ้น
ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชานั้นสูงขึ้น เพราะเป็นการเรียนที่ไม่น่าเบื่อ ไม่จำเจ
สนุกสนาน ได้เผยศักยภาพของตนเอง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ
เปลี่ยนมุมมอง/ทัศนะของบุคคลให้คิดเป็น มีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งแตกต่างจากการเรียนแบบอื่นๆ
การเรียนแบบนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง สรุปได้ดังนี้คือ
– เปลี่ยนรูปแบบจาก Teaching-Based เป็น Learning-Based
– เปลี่ยนลักษณะการเรียนจาก Passive เป็น Active
– เปลี่ยนจากวิชาเป็นปัญญา
– นักศึกษาได้เรียนรู้ (Learning) มากกว่าการรู้
(Knowing)
– ได้เปลี่ยนแปลงตัวนักศึกษาโดยใช้งานวิจัยเป็นวิถีของการเรียนรู้
ที่มา https://mataveeblog.wordpress.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น