พหุปัญญา
พหุปัญญา
: วิถีการเรียนรู้ที่แตกต่าง
เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
เปรียบเหมือนสายรุ้งที่หลากสี บุคคลจึงมีหลากหลาย รสนิยม มีความแตกต่างของบุคลิกภาพ ครู พ่อแม่และผู้ปกครองต้องสำเหนียกตระหนักและมองเห็นคุณค่าของความแตกต่างเพื่อการค้นหาให้พบว่า
เด็กมีลักษณะการเรียนรู้หรือความสามารถที่จะเรียนรู้ในทางใด เพื่อจะได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพและได้ใช้ความสามารถได้สูงสุด
ดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner)
แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ก่อตั้งทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of
Multiple Intelligences) ให้คำจำกัดความของคำว่า “ปัญญา” ไว้ดังนี้
“ปัญญา คือความสามารถที่จะค้นหาและแก้ปัญหาและสร้างผลผลิตที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในสังคม”
ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา
1. มนุษย์มีความสามารถทางปัญญาแบ่งออกได้อย่างน้อย
8 ด้าน
2. จากการศึกษาเรื่องสมองปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน
3. คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง
8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้าน บางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น
ๆ ปานกลาง
4. ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี
มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
5. ปัญญาด้านต่าง ๆ
สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่นในการดำรงชีวิตประจำวันเราอาจต้องใช้ปัญญาในด้านภาษาในการพูด
อ่าน เขียน ปัญญาด้านคิดคำนวณ ในการคิดเงินทอง ปัญญาด้านมนุษย์ สัมพันธ์ในการพบปะเข้าสังคมทำให้ตนเองมีความสุขด้วยการใช้ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
6. ปัญญาแต่ละด้านจะมีความสามารถในหลาย
ๆ ทาง ยกตัวอย่างเช่นคนที่อ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญญาทางภาษา แต่เขาอาจจะเป็นคนเล่าเรื่องที่เก่งหรือพูดได้น่าฟัง
ความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา แบ่งออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่
1. ปัญญาด้านภาษา
(Linguistic Intelligence)
2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical –
Mathmatical Intelligence)
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
(Visual – Spatial Intelligence)
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
(Bodily – Kinesthetic Intelligence)
5. ปัญญาด้านดนตรี
(Musical Intelligence)
6. ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
(Interpersonal Intelligence)
7. ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง
(Intrapersonal Intelligence)
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา
(Naturalist Intelligence)
บุคคลมีลักษณะการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญาในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป ต่อไปนี้เป็นการบรรยายลักษณะของบุคคลที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic
Intelligence)
- มีนิสัยรักการอ่าน ติดหนังสือ
ชอบเขียน ชอบพูด สามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้ดี
- มักจะได้ยินเสียงของคำก้องอยู่ในหูก่อนที่จะได้อ่าน
พูด หรือเขียน
- จัดกิจกรรมให้ได้พูด
ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น ได้เขียนเรื่องราวที่สนใจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
- ครูควรรับฟังความคิดเห็น
คำถาม และตอบคำถามด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น
- จัดเตรียมหนังสือ สื่อการเรียนการสอนเพื่อการค้นคว้าที่หลากหลาย
เช่น เทปเสียง วิดีทัศน์ จัดเตรียมกระดาษเพื่อการเขียน อุปกรณ์การเขียนให้พร้อม
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็น นักพูด
นักเล่านิทาน นักการเมือง กวี นักเขียน บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ ครูสอนภาษา เป็นต้น
2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical –
Mathmatical Intelligence)
- ชอบทดลองแก้ปัญหา สนุกที่ได้ทำงานกับตัวเลข
หรือเกมคิดเลข การคิดเลขในใจ เป็นต้น
- ชอบและมีทักษะในการใช้เหตุผล
การซักถามปัญหาให้คิดเชิงเหตุผล
- ชอบทำตามสั่ง ทำอะไรที่เป็นระบบระเบียบตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- ให้มีโอกาสได้ทดลอง
หรือทำอะไรด้วยตนเอง
- ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์
งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ
- ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์
ตกแต่ง
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบัญชี
นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู-อาจารย์ เป็นต้น
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
(Visual – Spatial Intelligence)
- ชอบวาดเขียน มีความสามารถทางศิลป
- ชอบฝันกลางวัน ชอบหลับตาคิดถึงภาพในความคิด
จินตนาการ
- ชอบวาดภาพ ขีดเขียนสิ่งต่าง
ๆ ลงในกระดาษ สมุดจดงาน
- ชอบอ่านแผนที่ แผนภูมิต่าง
ๆ
- ชอบดูหนังสือที่มีภาพประกอบมากกว่าหนังสือที่มีแต่ข้อความ
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- ให้ทำงานศิลป งานประดิษฐ์
เพื่อเปิดโอกาสให้คิดได้อย่างอิสระ
- พาไปชมนิทรรศการศิลป
พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
- ฝึกให้ใช้หรือเขียนแผนที่ความคิด
(Mind Mapping) การใช้จินตนาการ
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นศิลปิน
สถาปนิก มัณฑนากร นักประดิษฐ์ ฯลฯ
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
(Bodily – Kinesthetic Intelligence)
- ชอบการเคลื่อนไหว ไม่อยู่นิ่ง
ชอบสัมผัสผู้อื่นเมื่อพูดคุยด้วย
- เป็นนักกีฬา กระตือรือร้น
ชอบเต้นรำ เล่นละคร หรือบทบาทสมมุติ
- ชอบทำอะไรด้วยตนเองมากกว่าจะให้คนอื่นทำให้ตน
- ขอบทำมือประกอบท่าทางขณะพูดคุย
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส
จับต้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปฏิบัติจริง
- สนับสนุนให้เล่นกีฬา
การแสดง เต้นรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย
- จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง
หรือได้ปฏิบัติจริง
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักแสดง
นักกีฬา นาฏกร นักฟ้อนรำ นักประดิษฐ์ นักปั้น ช่างซ่อมรถยนต์ ศัลยแพทย์ เป็นต้น
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
- ชอบร้องรำทำเพลง เล่นดนตรี
- ชอบเสียงต่าง ๆ ชอบธรรมชาติ
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- ให้เล่นเครื่องดนตรี
ร้องเพลง ฟังเพลงสม่ำเสมอ
- หาโอกาสดูการแสดงดนตรี
หรือฟังดนตรีเป็นประจำ
- บันทึกเสียงดนตรีที่นักเรียนแสดงไว้ฟังเพื่อปรับปรุงหรือชื่นชมผลงาน
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักดนตรี
นักแต่งเพลง
นักวิจารณ์ดนตรี เป็นต้น
6. ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
(Interpersonal Intelligence)
- ชอบมีเพื่อน ชอบพบปะผู้คนร่วมสังสรรค์กับผู้อื่น
- ชอบเป็นผู้นำ หรือมีส่วนร่วมในกลุ่ม
- ชอบแสดงออกให้ผู้อื่นทำตาม
ช่วยเหลือผู้อื่น ทำงานหรือประสานงานกับผู้อื่นได้ดี
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้ากลุ่ม
ทำงานร่วมกัน
- ส่งเสริมให้อภิปราย
เรียนรู้ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน
- สามารถเรียนได้ดีหากให้โอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
7. ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง
(Intrapersonal Intelligence)
- ชอบอยู่ตามลำพังคนเดียวเงียบ
ๆ คิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
- ติดตามสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ
มีแรงจูงใจสูง
- มีอิสระในความคิด รู้ตัวว่าทำอะไร
และพัฒนาความรู้สึกนึกคิดอยู่เสมอ
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- เปิดโอกาสให้ทำงานตามลำพัง
ทำงานคนเดียว อิสระ แยกตัวจากกลุ่มบ้าง
- สอนให้เห็นคุณค่าของตัวเอง
นับถือตัวเอง (self esteem)
- สนับสนุนให้ทำงานเขียน
บันทึกประจำวัน หรือทำหนังสือ จุลสาร
- สนับสนุนให้ทำโครงงาน
การศึกษารายบุคคล หรือทำรายงานเดี่ยว
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพอิสระ เป็นเจ้าของกิจการ
เป็นนายจ้างของตัวเอง นักคิด นักเขียน นักบวช นักปรัชญา นักจิตวิทยา ครู – อาจารย์ เป็นต้น
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา
(Naturalist Intelligence)
- ชอบสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์
- สนใจสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติรอบตัว
- สนใจความเป็นไปในสังคมรอบตัว
ชอบศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ การดำรงชีวิต จิตวิทยา
- คิดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถ
- ฝึกปฏิบัติงานด้านเกษตรกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์
- ศึกษาสังเกต บันทึกความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
ลม ฟ้า อากาศ
- จัดกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา
ค่ายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพนักวิทยาศาสตร์
นักสำรวจ นักอนุรักษ์ธรรมชาติ นักสิ่งแวดล้อม ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เกษตรกร เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น