วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การออกแบบที่เป็นสากลในการเรียนการสอน

การออกแบบที่เป็นสากลในการเรียนการสอน Universal design for instruction (UDI)
            การนำแนวคิด UD มาใช้เป็นการประยุกต์เพื่อกการตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้เรียนที่มาความต้องการหลากหลาย โดยมีหลักการว่า UD นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของ ความเข้าใจ ว่า ผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วยซึ่งการ นำ UD ไปใช้ใน การศึกษาก็เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความ ต้องการของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัมนาความสามารถของตนเองได้เต็มที่อย่างเต็มศักยภาพ (Eagleton,2008)
            scott, shaw and mcguire (2001) ได้เสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการสอนที่ เป็นสากลไว้ 9 ประการ  ในการออกแบบการสอนที่เป็นสากล (universal design of instruction หรือ UDI) ได้รับการพัฒนามาจากการศึกษาค้นคว้างานเขียนและงานวิจัยเกี่ยวกับหลักในการ ออกแบบที่เป็นสากล (Universal design หรือ UD)และการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ครูผู้สอนใช้ในกลุ่มครุ่นคิดไตร่ตรองโดยนำไปใช้ได้หลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆหรือใช้เพื่อพิจารณากันสิ่งที่ทำอยู่แล้ว ณ ปัจจุบันก็ได้แล้วแต่ความจำเป็นของผู้สอนแต่ละท่าน  ประการทั้ง 9 ประการนี้ จะแสดงให้เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับการสอน หรือแนวทางในการสอน ไม่ว่าจะเป็นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนหรือการขยาย ประสบการณ์เรียนรู้หรือการพิจารณาว่าจะสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็กทุกคนได้อย่างไรทั้งนี้ไม่ว่าความหมายว่าผู้สอนจะใช้หลักการทุกข้อกับการเรียนการสอนทุกด้านพร้อมๆกันได้แต่เมื่อดูชั้นเรียนโดยองค์รวม จะพบว่าหลักการแต่ละข้อจะเข้ามามีบทบาทหลักการทั้งหมดนี้มีประโยชน์สำหรับผู้สอนทุกท่านไม่เว้นแม้แต่ผู้มีประสบการณ์ช่ำชองจากสาขาวิชาต่างๆและมีประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้สอนมือใหม่หรือครูผู้ช่วยที่ต้องการคำแนะนำและแนวทางในการสอน
            scott, shaw and mcguire (2003 : 369 - 379)ได้นำเสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการสอนที่ เป็นสากลไว้ 9 ประการดังนี้
1.      ความเสมอภาคในการใช้งาน (EQUIT ABLE USE)
       เป็นการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์สำหรับทุกคนข้อมูลและอุปกรณ์ต้องใช้งานได้อย่างราบรื่นโดยกลุ่มนักเรียนที่เยอะขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้นหมายถึงการใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมือนกัน“เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้และใช้อุปกรณ์ที่เทียบเท่าเมื่อใช้อุปกรณ์ที่เหมือนกันไม่ได้”ตัวอย่างเช่นข้อความดิจิทัศน์ในรูปแบบที่ใช้ได้กับซอฟต์แวร์อ่านข้อความหลายๆชนิดและมีลิงค์เชื่อมโยงไปยังข้อมูลเบื้องหลังสำหรับนักเรียนทุกคน
      2. การยืดหยุ่นในการใช้งาน (FLEXIBILTY IN UES)
       เป็นการออกแบบที่ทำให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความหลากหลายได้ใช้ได้เช่นเดียวกันต้องมีตัวเลือกหาผู้เรียนต้องการฟังเนื้อหาต้องทำได้หรือจะพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารที่จับต้องได้ก็ต้องทำได้และยังต้องปรับขนาดความคมชัดของตัวอักษรได้เพื่อประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีปัญหาด้านสายตาครูสอนควรจัดเตรียมวิธีการสอนที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้เกี่ยวกันในหลายรูปแบบ
       3. ง่ายและเป็นธรรมชาติ (SIMPLE AND INTUITVE)
        เป็นการออกแบบที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นใช้งานง่ายสิ่งสำคัญในการเรียนคือความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนไม่ใช่ วิธีในการทำความเข้าใจ (วิธีไม่สำคัญ  สำคัญคือเข้าใจ)ผู้สอนจะนำหลักการนี้ไปจึงต้องใช้ตารางคะแนนช่วย (ในตารางจะเขียนว่าต้องเข้าใจอะไรอย่างไร)
        4. สารสนเทศที่ช่วยให้รับรู้ได้ (PERCEPTIBLE INFORMAION)
            เป็นการออกแบบที่ทำให้ผู้เรียนแต่ละคนเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกันข้อมูลสารสนเทศความรู้จะถูกนำเสนอแก่ผู้เรียนในลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้(ตัวอย่างเช่นเมื่อพูดถึงกราฟฟิกจะมีการอธิบายหรือใช้แท็กสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสายตาส่วนคำบรรยายมีไว้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเอกสารการอ่านทั้งหมดจะมีให้ในรูปแบบดิจิทัลที่เข้าถึงได้)
       5. การยอมรับว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น (TOLERANCE FOR ERROR)
            เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน (ในฐานะใช้) ผู้สอนต้องเข้าใจ ว่าผู้เรียนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และมีแหล่งเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ผลก็คือประสิทธิภาพ ของการสอนก็ย่อมแปรผันไปเช่นเดียวกันผู้สอนต้องให้ผู้เรียนแบ่งโครงงานใหญ่ๆ ออกเป็นส่วนเล็กๆมาส่งก่อนเพื่อจะได้นำข้อเสนอจากผู้สอน ไปปรับปรุงโครงงานโดยรวม
       6. ความสามารถทางกายภาพที่ต่ำ (LOW PHYSICAL EFFORT)
       เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้มีความเมื่อยล้าในการใช้น้อยที่สุดเมื่อความพยายามทางกายภาพไม่ได้เป็นส่วนสำคัญของหลักสูตรรายวิชาความพยายามทางกายภาพควรจะขจัดให้หายไปเพื่อที่ผู้เรียนจะ”เพิ่มความสนใจในการเรียนรู้”ดังนั้นการลดอุปสรรคการเรียนรู้ในทางกายภาพก็จะดีในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนบางคน
       7. ขนาดและพื้นที่สำหรับการประยุกต์ใช้และการใช้ (SIZE AND SPACE FOR APPROACH AND UES)
            เป็นการออกแบบเพื่อผู้ชายที่มีขนาดร่างกายที่แตกต่างกันใช้ได้อย่างสะดวกพิจารณา
ความต้องการของผู้เรียนภายในพื้นที่ที่กำหนดไว้โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงในขณะร่างกาย ท่าทางการเคลื่อนไหว และความต้องการของนักเรียน
         8. ชุมชนของผู้เรียน (A COMMUNITY OF LEARNERS)
            เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสภาพแวดล้อม (ทั้งทางกายภาพและทาง ออนไลน์) ที่รู้สึกปลอดภัยและสนับสนุนการโต้ตอบระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง รวมทั้งระหว่าง นักเรียนและผู้สอน
         9. บรรยากาศในการสอน (INSTRUCTIONAL CLIMATE)
            เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่สภาพแวดล้อมได้รับการออกแบบมาเพื่อผู้
เรียนทุกคน สื่อสารให้นักเรียนรับรู้ว่าผู้สอนมีตั้งความคาดหวังไว้สูงสำหรับผู้เรียนทุกคน อาจารย์ผู้สอนสามารถเริ่มต้นกระบวนการนี้ได้ทั้งในหลักสูตรกับคำแถลงเกี่ยวกับความคาดหวังในการเคารพต่อความแตกต่างและความหลากหลายรวมถึงข้อความกระตุ้นให้นักเรียนเปิดเผยตนเองที่เกี่ยวกับปัญหาการเรียนรู้ที่ได้รับการรับรองหรือสงสัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น