วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน


การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
การประเมินการเรียนรู้ จะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับว่าการจัดการเรียนรู้บรรลุพันธกิจหรือไม่ มีความ จําเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของโปรแกรมการศึกษา การประเมินเพื่อพัฒนา ประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้



ภาพประกอบที่ 8 วัฏจักรการประเมินเพื่อพัฒนาประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้
Ghaye, T (1995) เสนอแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน จะต้องพิจารณาคําถาม 5
ข้อ คือ
1. คําถามเกี่ยวกับเวลา
การปรับปรุงควรจะเกิดขึ้นเมื่อไร
ผลของการปรับปรุงควรจะได้ผลอย่างชัดเจนเมื่อไร
2. คําถามเกี่ยวกับขนาดของงาน
ขอบเขตของการปรับปรุงควรมีขนาดเท่าไร เพียงใด
ผู้เกี่ยวข้องมีกี่คน จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
ผลของการปรับปรุงที่คาดการณ์ไว้มีลักษณะอย่างไร มีความสําคัญเพียงใด และให้ผลอะไร ในด้านการศึกษา
3. คําถามเกี่ยวกับความไม่แน่นอน
จะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การปฏิบัติ แรงจูงใจ หรือ ทิศทางใหม่เป็นการปรับปรุงจริงๆ
จะตรวจสอบจากหลักฐานใดว่ามีการปรับปรุงเกิดขึ้นแล้ว
มีความเข้าใจในความเกี่ยวโยงกันระหว่างสิ่งที่รู้สึกว่าพัฒนาแล้วกับการพัฒนาที่ชัดเจน เมื่อ มองในแง่ของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การพัฒนาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นจริง หรือเป็นเพียงจินตนาการ
4. คําถามเกี่ยวกับการเมืองในโรงเรียน
การเมืองในโรงเรียนมีความสําคัญต่อความพยายามในการปรับปรุง เนื่องจากการปรับปรุงมี แนวคิดพื้นฐานมาจากค่านิยมและเป็นกระบวนการที่มีระบบ บุคคลในองค์กรจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และต้องการที่จะปฏิบัติตามแนวคิดของตน การเข้าใจการเมืองที่อยู่เบื้องหลังความพยายามในการปรับปรุง เท่ากับยอมรับว่าในโรงเรียนย่อมมีการช่วงชิงกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ การทบทวนจะทําให้เกิดคําถาม เชิงการเมือง เพราะการปรับปรุงเกี่ยวกับผลประโยชน์” “อํานาจและการแก้ปัญหาเรื่อง ความขัดแย้ง เมื่อมี การปรับปรุง คําถามคือ ใครจะได้ผลประโยชน์อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และเพราะเหตุใด
5. คําถามเกี่ยวกับการลงลึกในการปฏิบัติการ
ถ้าการปรับปรุงมีจุดอ่อนและมีแรงกดดันจากภายนอก การปรับปรุงก็จะมีลักษณะฉาบฉวย จนทําให้ละเลยสิ่งที่เป็นรากฐานที่ควรให้ความสนใจ สิ่งสําคัญจะต้องทําความเข้าใจว่า การปรับปรุงโรงเรียน และการปฏิรูปในโรงเรียนแตกต่างกัน โดยที่การปฏิรูปมีผลลึกซึ้งและเป็นการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาที่มี ผลกระทบต่อทุกคนในองค์กร การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งนี้ มักจะเกิดจากการรปรับปรุงโครงสร้างและอิทธิพลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การเน้นที่การพัฒนาภายในมากเกินไปจะไม่นําไปสู่การปธรรม โรงเรียน การปรับปรุงในวงที่กว้างออกไปจึงเป็นปัจจัยสําคัญในการปฏิรูป
การประเมินที่ประสบความสําเร็จจะต้องมีความชัดเจนของจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ เป็นข้อความเกี่ยวกับการศึกษาที่แสดงถึงความมุ่งมั่น/เจตนาที่ตั้ง เกิดขึ้น เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และ นวัตกรรม เป็นต้น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เป็นข้อความที่มีความเฉพาะให้รายละเอียดที่ได้มาจากจุดมุ่งหมาย ใช้เขียน บรรยายพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องกระทํา เช่น ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนําไปใช้ในการตัดสินใจ ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูล
ผลการเรียนรู้ เป็นชุดรายละเอียดที่ผู้เรียนสามารปฏิบัติได้หลังจากได้เรียนในรายวิชา หรือหน่วย การเรียนในหลักสูตรรายวิชา ผลการเรียนรู้จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสําเร็จขั้นต่ําของผู้เรียนที่แสดง ออกเป็นรูปธรรมได้
ความสัมพันธ์ของจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ เขียนในรูปวัฏจักรการประเมินการ เรียนรู้ สรุปได้ดังภาพประกอบ ต่อไปนี้

ภาพประกอบที่ 9 วัฏจักรการประเมินการเรียนรู้
รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิด Outcome Driven Model
การตรวจสอบความเข้าใจ และการสรุปความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้ ใช้แนวทางการประเมินการเรียนรู้ ตามแนวคิด Outcome Driven Model

ภาพประกอบที่ 10 แนวทางการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิด Outcome Driven Model
ที่มา ปรับจาก Chatterji, Madhabi. (200
in Chatterji, Madhabi. (2003) Designing and using tools for educational assessment. Pearson
Education, Inc. p.30

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น