วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

แผนการจัดการเรียนรู้

หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

    หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการบูรณาการ เป็นส่วนที่สำคัญของหลักสูตรแบบบูรณาการ การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงหลักของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งมีผู้เสนอแนวคิดไว้ ดังต่อไปนี้ สำลี รักสุทธิ และคณะ (2544 : 27-18) ได้เสนอหลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรแบบบูรณาการ ดังนี้ 1. จัดกิจกรรมที่ใช้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกด้าน ได้แก่ ร่างกาย สติปัญญา สังคม และ อารมณ์
2. ยึดการบูรณาการวิชาเป็นสำคัญ โดยการบูรณาการทั้งภายในวิชาเดียวกันหรือระหว่าง วิชาเชื่อมโยงหรือบูรณาการเข้าด้วยกันให้เป็นความรู้แบบองค์รวม
3. ยึดกลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
 4. ยึดการค้นพบด้วยตนเองเป็นสำคัญ
5. เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงานโดยการส่งเสริมให้ผู้เรียนวิเคราะห์ถึง กระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิผลของงานด้วย
 6. เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจริงและ การติดตามผลการปฏิบัติของผู้เรียน
7. เน้นการเรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความหมาย
8. เน้นการเป็นคนดีและมีคุณค่า ต่อสังคม ประเทศชาติ เห็นคุณค่าของสรรพสิ่งหรือ ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน           
           ส่วนอรทัย มูลคำ และคณะ (2542 : 13) ได้เสนอหลักในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการ ได้แก่
1. จัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการ เรียนการสอนอย่างกระตือรือร้น
 2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทำงานกลุ่มด้วยตนเอง โดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่ม ลักษณะต่างๆ หลากหลายในการเรียนการสอน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ลงมือทำ
3. จัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมเข้าใจง่ายตรง กับความจริง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีเหตุผล
4. จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกกล้าคิดกล้าทำ ส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดของตนเองต่อสาธารณะชนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน
5. เน้นการปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้องดีงาม ให้ผู้เรียนสามารถ วางแผนแยกแยะความถูกต้องดีงามและความเหมาะสมได้ สามารถขจัดความขัดแย้งได้ด้วยเหตุผล มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และแก้ไขปัญหาด้วยปัญญาและสามัคคี             
                 แนวคิดเดียวกันนี้ วลัย พาณิช ( 2544 : 167-169) ได้เสนอแนวทางการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการออกเป็น 2 ลักษณะ
 1. ลักษณะที่เป็นหัวเรื่อง (Theme) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.1 การจัดการเรียนการสอนแบบจัดหน่วยบูรณาการ (Integrated Unit) ซึ่งจะต้องมี เนื้อหาและกระบวนการ วิธีการ และเนื้อหาวิชาที่จะบูรณาการตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป
1.2 การจัดการเรียนการสอนแบบมีหัวเรื่อง (Theme) จะไม่มีการบูรณาการเชิง เนื้อหาวิชา เรียกว่า เป็นการบูรณาการแบบหน่วยการเรียนหรือหน่วยรายวิชา
2. ลักษณะที่เป็นโครงการ เป็นการสอนตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป ให้ผู้เรียนสามารถจัดในรูป ของโครงการที่บูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหา ความรู้จากหลายหลากวิชาในเรื่องเดียวกัน มอบหมายให้ผู้เรียนทำโครงการร่วมกัน ครูวางแผนการสอนร่วมกัน และกำหนดงานหรือโครงการร่วมกัน           
                กระบวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการนั้น จะต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการสอนที่เป็นบูรณาการ (Integrative Teaching Styles) ซึ่งต้องมีวิธีการที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ผสมผสานกัน ฝึกให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยวิธีสืบสอบ (Inquiry) หรือใช้วิธีการแก้ปัญหา (Problem Solving) เน้นการทำงานร่วมกัน มีงานกลุ่มหรืองานเดี่ยวผสมผสานกันไป เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประสบการณ์จริง ประสบการณ์การเรียนรู้ควรอยู่ในขอบเขตสมรรถภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงต้องพิจารณาขอบเขตการเรียงลำดับของเนื้อหาของลักษณะวิชารวมทั้งลักษณะของผู้เรียนด้วย และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.kroobannok.com/3735

นวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณ์ที่ดี

         การพัฒนานวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาซึ่งสามารถจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 
1. นวัตกรรมหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum Innovation) การจัด กิจกรรมบูรณาการแบบเน้นคุณธรรม (moral-focused activity) โดยการสอดแทรกการพัฒนาคุณธรรมระหว่างการพัฒนาทักษะ ความสมารถของนักเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดในหลักสูตร
2. นวัตกรรมกระแสนิยม (In Trend Innovation) การจัดกิจกรรมใช้การสร้างกระแส หรือการนำค่านิยมที่เกิดขึ้นตามกระแสในช่วงนั้นมาใช้เป็นสื่อในการออกแบบกิจกรรมเพื่อดึงความสนใจของนักเรียน หรือการกำหนดกิจกรรมที่มีลักษณะการแข่งขัน เพื่อลดช่องว่างระหว่างสถานภาพของบุคคลหรือชนชั้น
 3. นวัตกรรมขบวนการบูรณาการ (Integrated Process Innovation) การจัดกิจกรรมที่มี การบูรณาการกระบวนการดำเนินงานของนักเรียนในกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ มิใช่จัดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งแล้วหยุด แล้วเริ่มทำกิจกรรมอื่นต่อไปไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมเดิม
4. นวัตกรรมเริ่มจากนักเรียนร้อยแปดแบบ (108 Student Initiations Innovation) การ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนเป็นผู้คิดริเริ่มและออกแบบกิจกรรม เพื่อให้ได้กิจกรรมและการขยายผลที่นำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณ์
5. นวัตกรรมที่ทำให้เข้าระบบสถาบัน (Institutionalized Innovation) การจัดกิจกรรมที่ กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานในระดับสูง และทำให้เป็นภารกิจปกติของโรงเรียนโดยกำหนดเป็นแผนงานหลัก
6. นวัตกรรมอิงการเรียนรู้จากการบริหาร (Service Learning-Based Innovation) การจัด กิจกรรมที่จัดโอกาสให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำงานที่เป็นการให้บริการแก่สังคม
7. นวัตกรรมการประชุม (Forum Innovation) การจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ผ่านการประชุมในรูปแบบของสมัชชาหรือการเสวนา เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน
8. นวัตกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต (Living Values Innovation) การจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิด “คุณค่าเพื่อชีวิต” ซึ่งพัฒนาโดยนักวิชาการชาวตะวันตก บนพื้นฐานแนวคิดของการพัฒนาจิตใจของนักเรียนให้มีความสงบ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
9. นวัตกรรมที่เป็นนิสัยประจำ (Routine Habit Innovation) การจัดกิจกรรมโดยครูเป็น ผู้กำหนดคุณลักษณ์ที่จำเป็นต้องพัฒนาในตัวนักเรียนและฝึกปฏิบัติเป็นนิสัยในชีวิตประจำวัน
 10. นวัตกรรมการพัฒนาตนเอง (Self-Development Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการ ฝึกให้นักเรียนรู้จักประเมินตนเอง และมีการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมการเผากิเลส ให้นักเรียนเขียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ตนเองได้ปฏิบัติบนกระดาษ
11. นวัตกรรมการประยุกต์ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World Application Innovation) การจัดกิจกรรมโดยการนำพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงมาใช้กับการแสดงพฤติกรรมในโรงเรียน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.kroobannok.com/3735

การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

สะเต็มศึกษา
สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
             การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่

             (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ

             (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ

             (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

             (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน

             (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา

             จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน

             ระดับการบูรณาการที่อาจเกิดขึ้นในชั้นเรียนสะเต็มศึกษาสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ การบูรณาการภายในวิชา (disciplinary), การบูรณาการแบบพหุวิทยากร (multidisciplinary integration), การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (interdisciplinary integration) และ การยูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา (transdisciplinary integration) ดังแสดงในรูป
  การบูรณาการภายในวิชา คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะของแต่ละวิชาของสะเต็มแยกกัน การจัดการเรียนรู้แบบนี้คือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เป็นอยู่ทั่วไปที่ครูผู้สอนแต่ละวิชาต่างจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนตามรายวิชาของตนเอง
               การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะของวิชาของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์แยกกัน โดยมีหัวข้อหลัก (theme) ที่ครูทุกวิชากำหนดร่วมกัน และมีการอ้างอิงถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิชานั้นๆ การจัดการเรียนรู้แบบนี้ช่วยให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาในวิชาต่างๆ กับสิ่งที่อยู่รอบตัว

               การบูรณาการแบบสหวิทยาการ  คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะอย่างน้อย 2 วิชาร่วมกันโดยกิจกรรมมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของทุกวิชาเพื่อให้นักเรียนได้เห็นความสอดคล้องกัน ในการจัดการเรียนรู้แบบนี้ ครูผู้สอนในวิชาที่เกี่ยวข้องต้องทำงานร่วมกันโดยพิจารณาเนื้อหาหรือตัวชี้วัดที่ตรงกันและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาของตนเองโดยให้เชื่อมโยงกับวิชาอื่นผ่านเนื้อหาหรือตัวชี้วัดนั้น

               การบูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา  คือ การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยนักเรียนเชื่อมโยงความรู้และทักษะที่เรียนรู้จากวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์กับชีวิตจริง โดยนักเรียนได้ประยุกต์ความรู้และทักษะเหล่านั้นในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนหรือสังคม และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของตัวเอง ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความสนใจหรือปัญหาของนักเรียน โดยครูอาจกำหนดกรอบหรือ theme ของปัญหากว้างๆ ให้นักเรียนและให้นักเรียนระบุปัญหาที่เฉพาะเจาะจงและวิธีการแก้ปัญหาเอง ทั้งนี้ ในการกำหนดกรอบของปัญหาให้นักเรียนศึกษานั้น ครูต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัยกับการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่  (1) ปัญหาหรือคำถามที่นักเรียนสนใจ  (2) ตัวชี้วัดในวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ (3) ความรู้เดิมของนักเรียน  การจัดการเรียนรู้แบบ problem/ project-based learning เป็นกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ (instructional strategies) ที่มีแนวทางใกล้เคียงกับแนวทางบูรณาแบบนี้
แนวทางการวัดผลประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

                 การวัดและประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา นอกจากมีการวัดผลการเรียนรู้ตามแนวทางการวัดผลของสาขาวิชาที่นำมาบูรณาการร่วมกันแล้ว ยังต้องมีการวัดสมรรถนะในการนำความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้การออกแบบและพัฒนาชิ้นงาน รวมทั้งทักษะสำคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ (critical thinking) การคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) การทำงานร่วมกันเป็นทีม (collaboration) และ การสื่อสาร (communication) ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากตัวอย่างของเกณฑ์การประเมินกิจกรรมแบบโครงงานเป็นฐาน (project-based learning) เรื่อง ชาร์จแบตเตอรี่ด้วยพลังงานสะอาด จากรายการเอกสารด้านล่างนี้

อ้างอิง http://physics.ipst.ac.th/?page_id=2481

Power Point บทที่ 8



















Power Point บทที่ 7














Power Point บทที่ 5











ตรวจสอบและทบทวน


ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นการบูรณาการความรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน หรือกระบวนการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ ความคิดและ ประสบการณ์ของตน หรือประยุกต์จากทฤษฎีและหลักการทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนา ความสามารถของผู้เรียนในการคิด การเผชิญสถานการณ์ การตัดสินใจและการแก้ปัญหา การพัฒนาทางด้าน ค่านิยม จริยธรรม เจตคติต่างๆ การพัฒนาทางด้านการคิด การปฏิสัมพันธ์และการทํางานเป็นกลุ่ม รวมทั้งการ ปฏิบัติและการแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542



แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 เรื่อง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
วิเคราะห์ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
. 2.2 ( 1 ) . 2.2 ( 2 )
. 1.1 ( 1 ) . 2.2 ( 1 ) . 1.1 ( 3 ) . 1.1 ( 14) . 1.1 ( 5 )
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1)          ใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างประหยัด  คุ้มค่า ได้แก่  น้ำ  ดิน  และอากาศ
2)          บอกประโยชน์ของ ดิน  น้ำ  และอากาศได้
3)          ปฏิบัติตนในการอนุรักษ์ ดิน  น้ำ และอากาศ
สาระการเรียนรู้
1.  การใช้ ดิน  น้ำ  และอากาศ
2.  ประโยชน์ของ ดิน  น้ำ  และอากาศ
3.  การอนุรักษ์ ดิน  น้ำ  และอากาศ
การบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.    ความพอประมาณ
สำรวจสภาพการใช้  ดิน  น้ำ  อากาศ ในชุมชนใกล้บ้านได้
2.    ความมีเหตุมีผล 
รู้จักประโยชน์ และความจำเป็นในการอนุรักษ์ ดิน  น้ำ  และอากาศ
3.    การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
รู้วิธีการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน   น้ำ  และอากาศให้มีคุณภาพและใช้ได้นาน ๆ
4.    เงื่อนไขความรู้
มีความรอบรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่  ดิน   น้ำ  อากาศ   และมีความรอบคอบในการอนุรักษ์ ดิน  น้ำ  และอากาศ ให้ใช้ได้นานๆ
5.    เงื่อนไขคุณธรรม
รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติให้มีใช้ได้นาน ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

1)    ครูพานักเรียนไปสำรวจ  ดิน  น้ำ  และอากาศ ภายในบริเวณโรงเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ไปสำรวจ
2)    สนทนาร่วมกันว่า  อากาศใต้ร่มไม้ เป็นอย่างไร   ดินบริเวณโรงเรียนมีลักษณะอย่างไร เราใช้ทำอะไร น้ำ มีประโยชน์ต่อเราอย่างไร

ขั้นให้ประสบการณ์

1)         นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ การใช้  ดิน   น้ำ  และอากาศ ที่มีอยู่ในชุมชนใกล้ตัว
2)         ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม แล้วร่วมกันคิดประโยชน์ ของดิน  น้ำ และอากาศ
3)         ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ ของ ดิน  น้ำ  และอากาศ แล้วเขียนข้อความบนกระดานดำ
แล้วให้นักเรียนร่วมกันอ่านตามครู
4)         ให้ตัวแทนกลุ่มออกมารับใบงานแล้วร่วมวาดภาพเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จาก  ดิน  น้ำ 
และอากาศพร้อมทั้งเขียนคำอธิบายใต้ภาพสั้น ๆ
5)         ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน และร่วมกันจัดป้ายนิเทศ

ขั้นสรุป

       นักเรียนและครูร่วมกันสรุปว่า ทรัพยากรธรรมชาติ  ดิน  น้ำ และอากาศ มีประโยชน์ต่อมนุษย์ 
ทุกคนควรช่วยกันประหยัด และใช้ให้คุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันอนุรักษ์และหาแนวทางในการแก้ไขไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นเสื่อมโทรม เพื่อให้ทุกคนมีใช้ไปนาน ๆ เช่น  น้ำ นักเรียนควรรู้จักการใช้น้ำให้พอเพียง ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้  ไม่ควรทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ลำคลอง เพราะจะทำให้แม่น้ำเน่าเสีย  เป็นต้น
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1)     ของจริง  ดิน  น้ำ  และอากาศ ภายในบริเวณโรงเรียน
2)     ใบงานกลุ่ม
3)     แบบสังเกตพฤติกรรม
การวัดและประเมินผล
1)     สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  การซักถาม การตอบคำถาม การนำเสนอผลงานหน้าชั้น
2)     ตรวจผลงาน

  ใบงาน
ชื่อกลุ่ม………………………………………………………………………………………………
ใบงานสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เรื่อง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม วาดภาพเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จาก  ดิน  น้ำ  และอากาศแล้วเขียนคำอธิบายใต้ภาพสั้น ๆ

ประโยชน์ของดิน
                                                                                                                                       
………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………

ประโยชน์ของน้ำ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 
                                                                                                                     ………………………………………………...…………………………………………………

………………………………………………………………………………...……………………

………………………………………………………………………………………………………

แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน        ชั้นประถมศึกษาปีที่  1

ให้ทำเครื่องหมาย หน้าข้อความข้างล่างนี้

เลขที่
ชื่อ - สกุล
ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
การซักถาม-ตอบคำถาม
ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของงาน
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
1

1
2
3
1
2
3
1
2
3
1
2
3
2













3













4













5













6













7













8













9














เกณฑ์การให้คะแนน
0 – 4    คะแนน  พอใช้
5 – 8    คะแนน  ดี
9 – 12  คะแนน   ดีมาก

เกณฑ์ระดับคุณภาพ        
1          หมายถึง     พอใช้
2          หมายถึง     ดี
3          หมายถึง     ดีมาก