วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (และแก้ไขเพิ่มเติม 2545,2553)
·       ฉบับที่ 1  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  19 สิงหาคม  2542  บังคับใช้ 20 สิงหาคม   2542
·       ฉบับที่ 2  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  19 ธันวาคม   2545  บังคับใช้ 20 ธันวาคม   2545
·       ฉบับที่ 3   ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  22 กรกฎาคม 2553  บังคับใช้ 23 กรกฎาคม 2553
มีทั้งสิ้น 9 หมวด 78 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
การศึกษา หมายความว่า  กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล และสังคมโดยการ ถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้าง องค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า  การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า  การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สถานศึกษา หมายความว่า  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ ในการจัดการศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า  สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสา หรับการส่งเสริมและกำกับดูแล  การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอน หมายความว่า  ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ครู หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายความว่า  บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้ง ของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
กระทรวง หมายความว่า กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
รัฐมนตรี  หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด 1
บททั่วไป
ความมุ่งหมายและหลักการ

มาตรา 6  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้ได้อย่างมีความสุข

มาตรา 8  การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
***ตลอดชีวิต  มีส่วนร่วม  ต่อเนื่อง***
มาตรา 9  การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักกดังนี้
(1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนา ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
***เอกภาพ กระจายอำนาจ  มาตรฐาน  ครู ระดมทรัพย์ ร่วม***

หมวด 2
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา

มาตรา 10  การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสอง ปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัด ให้บุคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ์ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้นๆ
***ปกติ:ไม่เก็บ, พิการ: ไม่เสีย, พิเศษ:เหมาะสม***
มาตรา 13  บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิ์ไดรับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
(1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคล ซึ่งอยู่ในความดูแล
(2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
(3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

หมวด 3
ระบบการศึกษา

มาตรา 15  การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัด และประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและ หลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพความพร้อม และโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อมสื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจาก ประสบการณ์การทา งาน
มาตรา 16  การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
มาตรา 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบไดชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับตามหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

หมวด 4
แนวการจัดการศึกษา

มาตรา 22  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่า
ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด (Children Center) กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา 23  การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญ ทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบุราณการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกันสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคม โลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24  การจัดกระบวนการเรียนรูให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 
(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและ แก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ท้าได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและ เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกวิชา
(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และ บุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา 27  ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ: กำหนดแกนกลาง)เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร




หมวด 5
การบริหารและการจัดการการศึกษา
ส่วนที่ 1
การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
มาตรา 31 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการ
ส่งเสริม และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท
กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา
สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา  5. การติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา
มาตรา 32  การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการจำนวน 4 องค์กร ได้แก่
สภาการศึกษา (มี 59 คน) 
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่เกิน 27 คน)
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ไม่เกิน 32 คน)
คณะกรรมการการอุดมศึกษา (ไม่เกิน 28 คน)  เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำ แนะนาแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี
มาตรา 33 สภาการศึกษา มีหน้าที่
(1) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บุราณการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
(2) พิจารณาเสนอนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษาเพื่อดา เนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (1)
(3) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(4) ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตาม (1)
(5) ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้  การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษาให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี  ให้คณะกรรมการสภาการศึกษา ประกอบด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้แทนองค์กรเอกชน
ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
พระภิกษุซึ่งเป็นผู้แทนคณะสงฆ์
ผู้แทนคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นและ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน   ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นนิติบุคคล

หมวด 6
มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา

มาตรา 47  ระบบประกัน ภายใน+ภายนอก
มาตรา 48  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
มาตรา 49  ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนา เกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของ สถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจัดการศึกษา ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

หมวด 7
ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

มาตรา 53  ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหาร ของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง  (ทำให้เกิด พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546)
มาตรา 55  ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน  มีใช้เฉพาะ กระทรวง ศธ.

หมวด 8
ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา

มาตรา 59  ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล

หมวด 9
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

มาตรา 66  ผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการเทคโนโลยี
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ทั้ง 3 ฉบับ

(ฉบับที่1 พ.ศ.2542)  คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรม และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้ คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง
(ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545)  คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไป จัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการบริหารและการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และการให้มีคณะกรรมการอาชีวศึกษา
(ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553)  สรุป ประถม+มัธยมอยู่ด้วยกัน การบริหารไม่คล่องตัว สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น